เร่งงานวิจัยให้เสร็จเร็วขึ้น 10 เท่า ปฏิวัติวงการวิจัยโดยใช้ AI เป็นผู้ช่วย

เร่งงานวิจัยให้เสร็จเร็วขึ้น 10 เท่า ปฏิวัติวงการวิจัยโดยใช้ AI เป็นผู้ช่วย เมื่อโลกเข้าสู่ยุค AI อย่างเป็นทางการ ผู้คนหลายสาขาอาชีพเริ่มหันมาใช้ AI กันมากขึ้น ทั้งในด้านการเขียนคอนเทนต์ วาดภาพ แต่งเพลง เขียนหนังสือ หรือช่วยวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะทางด้านการตลาด ซึ่ง AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ช่วยให้นักการตลาดสามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
แต่ทำไมในด้านการทำงานวิจัย คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยใช้ AI กัน ?
ตอนนี้ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนในทุกสายอาชีพ และยังเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของแวดวงการศึกษาอีกด้วย เรามาดูกันว่า อาจารย์ปุจ ดร.สุขยืน เทพทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย มีมุมมองต่อ “ทิศทางการใช้ AI สำหรับการวิจัยในประเทศไทย” อย่างไรบ้าง

ประเด็นหนึ่งที่พบก็คือ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับ AI สำหรับการวิจัยค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับข้อมูลเกี่ยวกับ AI ทั่วไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนที่สนใจ AI สำหรับการวิจัยมีน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะพบข้อมูลเกี่ยวกับ AI ทั่วไป เช่น ChatGPT, Bing, Bard ซึ่งเป็นฝั่งของ Creativity อย่างเดียว อาจจะไม่เหมาะสำหรับการวิจัย
หากท่านเริ่มใช้ AI ในการวิจัยในวันนี้ ท่านยังถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ของประเทศไทยที่ใช้ AI ในการวิจัย และเชื่อได้เลยว่า AI จะเข้ามามีบทบาทในทุกวงการ รวมถึงการวิจัยด้วยเช่นเดียวกัน เพียงแต่ในประเทศไทยยังเป็นดินแดนที่เรายังไม่ได้ใช้ AI ให้เป็นประโยชน์มากนัก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายทีเดียว
มีมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ AI กับการวิจัยที่มักกังวลกันว่าจะทำให้งานวิจัยกลายเป็นการ Copy หรือเกิด Plagiarism หรือไม่ ซึ่งผมมองว่าอาจจะเป็นคนละประเด็นกัน ไม่ว่าเราจะใช้ AI หรือเครื่องมืออื่นใดในการช่วยวิจัย สุดท้ายแล้ว AI ก็เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกเท่านั้น เรายังคงต้องย้อนกลับไปดูต้นทางงานวิจัยด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง และเขียนสรุปผลด้วยตัวเองอยู่ดี
ดังนั้น บทบาทของ AI ในการวิจัยจึงไม่ใช่ Co-Author หรือนักวิจัยร่วม แต่เป็นเพียงผู้ช่วยที่อาจจะช่วยเสนอไอเดีย อาจจะช่วยเขียนเป็นไกด์ไลน์บางส่วน แต่ทั้งหมดทั้งมวลเราเป็นผู้รับผิดชอบ 100% ที่จะต้องเรียบเรียงใหม่ เขียนใหม่เป็นภาษาของเราเอง และการใช้ AI กับการวิจัยจะต้องไม่ให้เกิดปัญหา Plagiarism ผลงานวิจัยที่ได้จะไม่มีสีดำหรือสีเทา
เมื่อพูดถึง AI สำหรับงานวิจัย คงไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่าคนในประเทศไทยใช้ AI กันมากน้อยเพียงใด แต่จากการสอบถามเวลาไปบรรยาย หรือแม้แต่บรรดาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผมคิดว่าไม่เกิน 1% ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับศักยภาพของ AI ที่มีล้นเหลือแต่เรากลับไม่ได้ใช้ ผมเป็นห่วงว่างานวิจัยของเราอาจล่าช้า และบางคนรู้สึกทุกข์ทรมานในการทำงานวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะงานวิจัยเป็นเรื่องที่ดีงาม อยากส่งเสริมให้ทุกคนทำวิจัยได้อย่างมีความสุข สามารถที่จะผลิตผลงานที่มีคุณภาพทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่มากขึ้น
เทคนิคในการใช้ AI สำหรับการทำงานวิจัยเป็นเทคนิคที่ผมอยากให้ทุกท่านเข้าใจ โดยเฉพาะบรรดาท่านอาจารย์ต่าง ๆ รวมทั้งนักวิจัยมืออาชีพด้วย ผมแบ่งแบบนี้ครับ ถ้าใครที่เคยเรียนกับผมมาบ้างก็อาจจะเคยเห็นโมเดลนี้ เดี๋ยวผมจะอธิบายอีกครั้งสำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็นนะครับ

AI ในการทำงานวิจัย สามารถแบ่ง AI ออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
1 | AI Creativity
ตัวอย่าง AI ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ChatGPT, Claude, Bard, Bing, Perplexity, etc. AI ในกลุ่มนี้สามารถช่วยเราสร้างไอเดียใหม่ ๆ ให้กับงานวิจัยของเราได้ เช่น สมมติว่าองค์กรของเรากำลังประสบปัญหาพนักงาน Burnout ภาวะผู้นำมีปัญหา และนโยบายไม่ชัดเจน แต่กระบวนการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรยังดีอยู่ เราสามารถใช้ AI Creativity ช่วยเสนอหัวข้อการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ดีขึ้นหน่อยได้ไหม หรือแม้กระทั่งให้ช่วยหาช่องว่างทางการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างกลุ่มตัวอย่าง ช่องว่างระเบียบวิธี โดยเฉพาะช่องว่างในเชิงทฤษฎี หรือสามารถให้ช่วยวิเคราะห์ว่าจาก 2 ทฤษฎี จะสามารถเติมเต็มกันได้อย่างไรบ้าง
สังเกตว่า AI Creativity จะโดดเด่นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และช่วยเสนอไอเดียให้เราได้ดีมาก แต่ก็อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของการอ้างอิง
2 | AI Academics
ตัวอย่าง AI ในกลุ่มนี้ ได้แก่ SciSpace, Scite, Elicit, Scholarcy, Consensus, etc.
ประโยชน์หลักคือการทบทวนวรรณกรรม การหาข้อมูล และเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับทางวิชาการความโดดเด่นของ AI กลุ่มนี้คือ จากเดิมที่เราจะต้องไปค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เข้าถึงค่อนข้างยาก นอกจากนี้ ลักษณะร่วมของ AI Creativity กับ AI Academics ส่วนใหญ่ยังมีรูปแบบการให้บริการแบบ Freemium นั่นคือสามารถใช้งานฟรีได้บางส่วน แต่หากต้องการใช้ฟีเจอร์เพิ่มเติมจะต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยโดยทั่วไปแล้วฟีเจอร์ฟรีก็เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับงานวิจัยในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือการใช้งานในแต่ละวันที่ไม่มากนัก

ผมไม่แนะนําการใช้ AI Creativity หรือ AI Academics ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ในการช่วยทำงานวิจัย
เพราะแต่ละฝั่งมีข้อจำกัดและจุดเด่นที่แตกต่างกัน ในขณะที่นักวิชาการบางกลุ่มก็จะนิยมใช้ AI Academics และไม่ยอมรับ AI Creativity ก็จะทำให้สูญเสียโอกาสในการที่จะใช้ศักยภาพของอีกกลุ่มหนึ่งไป
หากเราสามารถใช้ AI ทั้งสองกลุ่มร่วมกันได้อย่างชาญฉลาด เลือกใช้คำถามให้เหมาะสม เราอาจใช้ AI Creativity ในการระดมความคิดเกี่ยวกับหัวข้องานวิจัย จากนั้นนำข้อมูลบางส่วนไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในฝั่ง AI Academics เพื่อหาอ้างอิง แล้วจึงนำข้อมูลทั้งสองฝั่งมาเขียนใหม่หรือเรียบเรียงใหม่ เพื่อให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักวิชาการ งานวิจัยของเราก็จะเสร็จอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูง เพราะเราจะได้ไอเดียใหม่ ๆ จากฝั่ง AI Creativity และข้อมูลอ้างอิงที่เป็นปัจจุบันจากฝั่ง AI Academics
เราต้องยอมรับว่ามนุษย์มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะนักวิจัยมือใหม่ที่ต้องการที่ปรึกษา หรือแม้แต่นักวิจัยมืออาชีพก็ใช้เวลาสั่งสมความรู้หลายสิบปีกว่าจะเข้าใจงานวิจัยได้ลึกซึ้ง การปรึกษา AI หรือให้เขาช่วยหาข้อมูลจึงเป็นเรื่องพื้นฐาน เช่นเดียวกับการที่เราใช้ Google ในการหาข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ การใช้ AI มันไม่ได้มีอะไรพิสดารไปกว่านั้น เพียงแต่ AI มีความฉลาดในการดึงข้อมูลมาให้เรา ทำให้ทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการแปลภาษาหรือช่วยเรียบเรียงบางประเด็น ผมจึงอยากให้เราลองฝึกฝนการใช้ AI เพื่อทำการวิจัย ซึ่งจะช่วยให้งานวิจัยของเราเสร็จเร็วขึ้นไม่น้อยกว่า 10 เท่า หรืออาจจะเร็วเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้
…
กลัวไม่จบปริญญาโท ปริญญาเอก
เพราะติดปัญหางานวิจัย
นี่คือทางออก นี่คือสิ่งที่คุณต้องการ
หากคุณต้องการจบเร็วที่สุดและแน่นอนที่สุด

สร้างทักษะการใช้ AI ทำงานวิจัย
หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบโดย
อาจารย์ปุจ ดร.สุขยืน เทพทอง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย กลยุทธ์ และพัฒนาธุรกิจ 10 X โดยใช้ AI
…
รายละเอียดหลักสูตร ➤ https://shorturl.asia/xsGWy
