งานวิจัยบทที่ 4 ที่ว่ายาก จะใช้ Ai เป็นผู้ช่วยยังไง
…
งานวิจัยบทที่ 4 ที่ว่ายาก จะใช้ Ai เป็นผู้ช่วยยังไง
จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเร่งกระบวนการวิจัยให้เร็วขึ้นในระดับ 10 เท่าหรือมากกว่านั้น ?
อาจารย์ปุด ดร.สุขยืน เทพทอง ผู้เชี่ยวชาญการวิจัย กลยุทธ์พัฒนาองค์กรโดยใช้ AI ถามผู้เรียนในคลาสที่ 7D
“ผมจะทิ้ง ป.เอก ครับ แต่ถ้าอาจารย์ช่วยได้ อาจารย์คือผู้ชุบชีวิตผมครับ” – คนที่นั่งหลังห้องพูด
แอดมินที่แอบดูอยู่หลังจากหลังห้อง เห็นทุกคนในคลาสผงกหัวอยู่หงึก ๆๆๆๆๆ
มาฟังสิ่งที่อาจารย์ปุดพูดในวันนี้กันเลย
(ขออภัยนะ ที่แอดมินใช้เวลาสรุปเรื่องนี้ด้วยเอไอที่ใช้เวลาแค่ 10 นาที จากเดิมที่คอยถอดเทปและแกะคำพูดอย่างน้อยสองวัน)
นี่คือสิ่งที่อาจารย์ปุดเล่าในวันนี้
จริง ๆ แล้วงานวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับประเทศชาติของเรา แล้วก็มีความสำคัญในทุกสาขาอาชีพ
แต่ปัญหาหลักของงานวิจัยในตอนนี้ก็คือคนที่ทำวิจัยมีความรู้สึกยากลำบาก กว่าจะทำเสร็จก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน แล้วกระบวนการต่าง ๆ ก็ดูเป็นปัญหาไปหมด นักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอกหลายคนถึงขั้นออกจากการศึกษาเพราะมีปัญหาในเรื่องการวิจัย
ฉะนั้น ถ้าเราสามารถปรับกระบวนการวิจัยให้ดีขึ้น ง่ายขึ้น เร็วขึ้น แล้วก็คุณภาพสูงขึ้นได้ อันนั้นคือเป้าหมายสูงสุด ซึ่งจะทำให้เรามีงานวิจัยเอามาใช้ในการทำงานได้มากขึ้น
ขั้นตอนหนึ่งที่เป็นปัญหาในการวิจัยก็คือเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
——————-
ข้อมูลเชิงปริมาณก็คือการใช้สถิติต่าง ๆ ดูเป็นเรื่องที่พิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แต่จริง ๆ แล้วการที่เรามีเอไอเข้ามาช่วย มันทำให้การวิเคราะห์สถิติของนั้นง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการวิเคราะห์ด้วย แต่ในขั้นตอนการวิเคราะห์เอไอช่วยได้ค่อนข้างมาก
เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงการวิเคราะห์ข้อมูล มีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือ Quantitative Analysis เอไอเข้ามาช่วยได้อย่างไร ?
ปัจจุบันเราสามารถใช้ภาษาที่เรียกว่า NLP หรือ Natural Language Processing ในการสั่งให้เอไอช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้ เช่น ช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเพศของลูกค้ากับความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของเรา เราสามารถใช้คำพูดแบบนี้วิเคราะห์ได้ หรือแม้กระทั่งให้วิเคราะห์พวก Multiple Regression ให้วิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร หรือมีอิทธิพลอย่างไร
ด้วยคำพูดเพียงแค่นี้ เอไอสามารถวิเคราะห์และอธิบายผลออกมาได้อย่างชัดเจน
ส่วนการวิจัยอีกประเภทคือ Qualitative Analysis หรือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเพราะข้อมูลที่ได้มา ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์พฤติกรรม หรือวิจัยจากการทดลอง เมื่อประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์จะค่อนข้างยาก
อย่างเช่นเราไปสัมภาษณ์ใครสักคน ตอนสัมภาษณ์ก็ดูไม่ได้ยากอะไร ถามไปอย่างสนุกสนาน แต่เวลาเก็บข้อมูลแล้วมาวิเคราะห์ อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะวิเคราะห์ยังไง
เพราะฉะนั้นเอไอก็จะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ คือสามารถสรุปประเด็น สามารถวิเคราะห์จำแนกแจกแจงประเด็นได้ตามหัวข้อที่เราสั่งไปได้อย่างรวดเร็ว
สมมติว่าสัมภาษณ์จำนวน 10 คน เราสามารถสั่งให้เอไอวิเคราะห์ว่าใน 10 คนนั้นพูดประเด็นร่วมอะไรกันบ้าง มีประเด็นอะไรที่แตกต่างบ้าง มีข้อสังเกตอะไรบ้าง
หรือเราอาจจะใช้หลากหลายวิธีในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเชิงคุณภาพ เชิงสังเกตการณ์ เราสามารถให้เอไอวิเคราะห์ข้อมูลจากแต่ละแหล่งเข้ามาด้วยกันแล้วให้สรุปมาว่างานวิจัยชิ้นนี้ผลสรุปเป็นอย่างไร
การที่เราให้เอไอเข้ามาช่วย เอไอจะช่วยวิเคราะห์ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นความฝันของพวกเราที่อยากให้ประเทศชาติหรือทุกสาขาอาชีพมีงานวิจัย เป็นเครื่องมือเป็นข้อมูลที่ดี เพื่อมาช่วยในการทำงานให้ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น
เมื่อไรที่เรามีงานวิจัยมากขึ้น ผมเชื่อมั่นว่าประเทศชาติของเราจะไปได้เร็วขึ้น รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาแล้วก็นักวิจัย ก็จะมีกำลังใจและจะเอาเวลาที่เหลือไปใช้ในเรื่องของการอภิปรายหรือการนำผลการวิจัย ซึ่งสิ่งนี้คือคุณูปการของเอไอ อยากให้ทุกท่านใช้เอไอให้เกิดประโยชน์รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม
อยากให้ทุกคนได้เจออาจารย์ปุดจัง
เจอแล้ว ปัญหางานวิจัยก็หมดไป
ป โท ป เอก ที่อยากได้
ก็เปลี่ยนฝันที่เกือบสลายให้เป็นจริงได้
คนทำธุรกิจ
ก็รู้กันอยู่แล้วว่าสามารถพลิกยอดขายได้ขนาดไหนจากงานวิจัย
…
7D
Your Dream Is Our Passion
…