วิจัยเสร็จเร็ว จบไว เเค่รู้จักใช้ AI เป็นผู้ช่วย
วิจัยเสร็จเร็ว จบไว เเค่รู้จักใช้ AI เป็นผู้ช่วย
เส้นทางใหม่ในแวดวงวิชาการ โดย ดร.สุขยืน เทพทอง
ทำไม 50% ของผู้ที่เริ่มต้นทำวิจัยมักจะล้มเลิกไปกลางคัน ?
การทำงานวิจัยมีกระบวนการอันซับซ้อนและท้าทาย ด้วยความยากของเนื้อหาวิชาการ ความกดดันจากเพื่อนร่วมรุ่น ความเครียดจากการแข่งขัน แต่ละขั้นตอนกินพลังงานและต้องใช้ระยะเวลามหาศาล หลายคนถึงขั้นยอมลาออกจากงานเพื่อทำงานวิจัยต่อให้เสร็จ ในขณะที่หลายคนไม่มีโอกาสนั้น จนต้องยอมแพ้และถอดใจไปเสียก่อน
กว่าจะผ่านด่านวิจัยสุดโหดจนได้ใช้คำนำหน้าว่า ดร. คุณต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล ต้องอ่านเอกสารงานวิจัยจำนวนมาก ต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ ไปจนถึงขั้นตอนการเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ ๆ
แต่กว่าจะไปถึงขั้นตอนสุดท้ายได้ หนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญและยากมากที่สุดจนทำให้นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกต้องปาดเหงื่อเลยก็คือ “การหาหัวข้อวิจัย” บางคนคิดไม่ออก บางคนไม่รู้ว่าควรทำเรื่องอะไรให้โดดเด่น สร้างสรรค์ มีประโยชน์ และนำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษาได้ผ่านฉลุย แต่ปัญหานี้แหละที่ AI สามารถช่วยเราได้ เราต้องประยุกต์ใช้ AI ให้มันกลายเป็นผู้ช่วยชั้นเลิศ ให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้นเป็น 10 เท่าร้อยเท่า โดยที่ยังคงรักษามาตรฐานระดับสูงเอาไว้ได้
บทบาทของ AI ในงานวิจัย
AI หรือปัญญาประดิษฐ์ มีศักยภาพที่จะเข้ามาช่วยงานวิจัยในหลาย ๆ ด้าน เช่น การจัดเก็บ การประมวลผลข้อมูล การค้นหาข้อมูล การแปลภาษา การเขียนเนื้อหาต่าง ๆ และยังรวมไปถึงการสร้างสรรค์และนำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจด้วย ดังนั้นการนำ AI มาช่วยคิดหัวข้องานวิจัยเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
วิธีหาหัวข้อการวิจัยด้วย AI
1.ใช้ AI หาหัวข้อ
หากไม่มีไอเดียหัวข้อวิจัยเลย ให้ลองใช้ AI หา โดยเลือก AI ฝั่งความคิดสร้างสรรค์ เช่น ChatGPT, Bard, CLD2, GPT-3, GPT-J, LaMDA, Jurassic-1 Jumbo หรือ Megatron-Turing NLG พิมพ์หัวข้อคร่าว ๆ ที่ต้องการให้ AI หา เช่น “ปัญหาสังคม” “เทคโนโลยีใหม่” “อนาคตของโลก” ซึ่ง AI จะสร้างหัวข้อวิจัยขึ้นมาให้เรามากมาย จากนั้นก็เลือกหัวข้อที่สนใจและสอดคล้องกับความรู้และความสามารถของเรา
2.สำรวจปัญหาหรือความต้องการในปัจจุบัน
สังเกตปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในสังคม ธุรกิจ ชุมชน หรือองค์กรต่าง ๆ จากนั้นกำหนดเป็นหัวข้อวิจัย เช่น “แนวทางแก้ปัญหาความยากจน” “การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” “การสร้างชุมชนที่ยั่งยืน”
3.อ่านงานวิจัยเก่าในสาขาที่สนใจ
ศึกษางานวิจัยเก่าในสาขาที่สนใจ เพื่อดูช่องว่างงานวิจัยที่ยังไม่มีใครศึกษา เช่น “ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข” “แนวทางการวิจัยที่ยังไม่ได้ศึกษา” จากนั้นกำหนดเป็นหัวข้อวิจัยเพื่อเติมเต็มความรู้เดิมหรือขยายความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
4.ถามความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ
ขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่สนใจ เพื่อรับมุมมองใหม่ ๆ หรือแนวทางการวิจัยที่น่าสนใจ
5.ดูหัวข้อวิจัยจากตัวอย่างของสถาบันอื่น
ศึกษาตัวอย่างหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจจากสถาบันการศึกษาชั้นนำต่าง ๆ เพื่อเห็นแนวทางและขอบเขตในการกำหนดหัวข้อวิจัยที่เหมาะสมในแต่ละสาขา
แต่อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้เป็นผู้ช่วยในการทำงานวิจัย มีข้อควรระวัง คือ งานวิจัยต้องถูกต้องตามหลักวิชาการและเรียกได้ว่าเป็นงานวิจัยสีขาว
คําว่า “งานวิจัยสีขาว” คืออะไร ?
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจเรื่องงานวิจัยสีขาว ผมขออธิบายภาพรวมโดยแยกงานวิจัยออกเป็น 3 สีก่อน คือ 1.สีดํา 2.สีเทา 3.สีขาว
1.งานวิจัยสีดำ
คือ การคัดลอก ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน ถึงแม้จะมีการอ้างอิงก็ตาม ในทางวิจัยจะถือว่าเป็นสีดําทั้งหมด แต่ในทางกฎหมายอาจจะไม่ผิด เพราะถือว่ามีการอ้างอิงแล้ว เพียงแต่อ้างอิงไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการเท่านั้นเอง นอกจากนี้งานวิจัยสีดำยังรวมไปถึงการที่เราให้ผู้อื่นเขียนงานให้ หรือแม้แต่ใช้ AI เขียนให้และตรวจพบ Plagiarism ก็จะถือว่าเป็นงานวิจัยสีดำ
2.งานวิจัยสีเทา
งานที่ไม่ได้มาจากการคัดลอง เมื่อตรวจแล้วอาจจะไม่เกิดปัญหา Plagiarism แต่เป็นงานวิจัยที่ให้คนอื่นเขียนแทนหรือใช้ AI เขียนให้ ซึ่งการใช้ AI เขียนให้โดยทั่วไปแล้วมักจะตรวจเจอปัญหา Plagiarism เพราะมาจากการคัดลอก แต่ในปัจจุบันนี้ AI พัฒนาไปไกลมาก และสามารถช่วยถอดความเรียบเรียงให้เราได้ วิธีนี้จะตรวจไม่เจอ Plagiarism
3.งานวิจัยสีขาว
งานวิจัยที่เราเขียนเองหรือถอดความด้วยตัวเอง มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง และดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย
แล้วเราจะทำ AI มาใช้ในงานวิจัยอย่างไรให้ถูกต้องและไม่มีปัญหา ?
หากเป็นงานเขียนประเภทอื่น เช่น เขียนข้อความโฆษณา เขียนหนังสือนวนิยายอื่น ๆ ที่ไม่เน้นการอ้างอิงอย่างเคร่งครัดก็อาจนำ AI มาใช้ทำงานได้เลย เราจะเรียกว่าเป็น co-author หรือ co-coordinator ซึ่งไม่จำเป็นต้องอ้างอิงก็ได้ เช่น ให้ AI ช่วยเขียน Facebook ads ก็สามารถนำใช้ได้เลย
แต่สำหรับงานเขียนเชิงวิชาการหรือในงานวิจัย เราจะให้ AI มีบทบาทเป็นแค่ “ผู้ช่วย” เท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าผลงานที่ออกมาปรากฏว่ามีการคัดลอก ติดปัญหา Plagiarism หรือมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง เราไม่สามารถโทษว่าเป็นความผิดของ AI ได้ เพราะ AI เป็นเพียงผู้ช่วย ส่วนเราคือคนที่จะต้องนําชิ้นงานนั้น ๆ มาพิจารณาและเรียบเรียงใหม่เป็นภาษาของเรา
AI มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ช่วยที่ทำให้งานวิจัยของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดเวลายิ่งขึ้น และช่วยลดต้นทุนในการทำงานวิจัยให้น้อยลง และผมเองก็เชื่อว่าในอนาคต AI มีแนวโน้มที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในงานวิจัยและวงการอื่น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคนจึงต้องปรับตัวให้ทัน เตรียมรับมือกับยุคสมัยใหม่ เรียนรู้เพื่อพัฒนาและก้าวไปพร้อม ๆ กันครับ
…
กลัวไม่จบปริญญาโท ปริญญาเอก
เพราะติดปัญหางานวิจัย
นี่คือทางออก นี่คือสิ่งที่คุณต้องการ
หากคุณต้องการจบเร็วที่สุดและแน่นอนที่สุด
สร้างทักษะการใช้ AI ทำงานวิจัย
หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบโดย
ดร.สุขยืน เทพทอง
…
ใช้ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยได้มากถึง 10 เท่า
ช่วยสร้างบทนำ ทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานทั้งหมดได้ในหลักสูตรเดียว
สอนตั้งแต่เริ่มต้น จนคุณทำได้ด้วยตัวเองในทุกขั้นตอน
เรียนผ่านออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ทวนซ้ำกี่รอบก็ได้
…