6 เทคนิค จากนักเขียนชื่อดัง
สร้างงานเขียนยังไงให้คว้ารางวัล

6 เทคนิค จากนักเขียนชื่อดัง สร้างงานเขียนยังไงให้คว้ารางวัล

การเริ่มต้นการเขียนหนังสือต้องใช้ความพยายามและอดทน

คุณต้องอ่านให้มาก ฝึกเขียนให้บ่อย ใช้เวลาอยู่กับมันทั้งวัน

แต่เชื่อเถอะว่ายิ่งเขียน เขียน เขียน มากเท่าไร ก็ยิ่งเก่งขึ้นมากเท่านั้น

และนี่คือ 6 เทคนิค ที่นักเขียนชื่อดังใช้เป็นเส้นทางในการคว้ารางวัล…

1. อย่าใช้ภาษาที่ตายแล้ว

การเขียน เป็นศิลปะในการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาเป็นเรื่องราว ไม่เพียงแค่การจับความคิดมาร้อยเรียงเป็นข้อความลงบนกระดาษเท่านั้น แต่ต้องอาศัยอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียนร่วมด้วย นอกจากนี้ การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะภาษาจะส่งผลต่อคุณค่าของงานที่รังสรรค์ขึ้นมา เหมือนที่ Toni Morrison นักเขียนชื่อดังที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1993 ได้สร้างผลงานที่ทลายข้อจำกัดในเรื่องของภาษา

หนึ่งในผลงานสำคัญคือนวนิยายเรื่อง “Beloved” เป็นเรื่องที่เน้นถึงความสำคัญของภาษาและวิธีการเล่าเรื่อง มีการใช้ความขัดแย้งของภาษาเพื่อเน้นถึงความไม่เข้าใจผ่านวิธีการตัดตอนของข้อความ มีการใช้ภาษาที่มีชีวิตเพื่อสร้างความรู้สึกของเรื่องราวและตัวละคร เรียกได้ว่าเป็นผลงานที่เต็มไปด้วยความลึกลับ ความหลากหลายในด้านภาษา เพราะเธอไม่ได้จำกัดตัวเองให้อยู่แต่ในข้อบังคับของการเขียน แต่เลือกที่จะใช้วิธีที่แตกต่างในการสรรค์สร้างเรื่องราวขึ้นมานั่นเอง

2. ถ้ายังเขียนไม่ได้ ให้เล่าเรื่องราวในหัว

การเล่าเรื่องในหัวเมื่อคุณยังไม่สามารถเขียนได้ ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีในการขยายความคิด การที่คุณไม่มีเวลาหรือสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการเขียน ก็ให้การเล่าเรื่องในหัวเป็นอีกหนทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้

ลองใช้เวลาตอนเดินทาง ในรถ หรือแม้กระทั่งก่อนนอน ค่อย ๆ เล่าเรื่องราวในหัวของคุณออกมา อาจจะมีตัวละครหรือสถานการณ์ในใจและเริ่มสร้างเรื่องราวโดยการถามตัวเองว่า “แล้วจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น” หรือ “ถ้าตัวละครนี้ต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ จะต้องเจอกับอะไรต่อไป” แล้วจึงเจาะลึกลงไปในเรื่องราวเหล่านั้น

นอกจากนี้ ถ้าความคิดหรือเรื่องราวที่มีในหัวนั้นน่าสนใจมาก ๆ ก็สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงหรือเขียนออกมาให้อยู่ในรูปแบบของคำหรือข้อความสั้น ๆ เอาไว้ก่อน เพื่อให้คุณสามารถกลับมาดูและเขียนแต่งเติมต่อได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ผลงานได้ต่อไปแม้ว่าจะเขียนยังไม่เก่งก็ตาม

3. อ่านงานคนอื่นเพื่อหาแรงบันดาลใจได้ แต่อย่า COPY

การอ่านและการเขียนเป็นสองสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน ยิ่งคุณอ่านมากเท่าไรก็จะเสริมสร้างศักยภาพในการเขียนของคุณได้มากเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าอ่านหนังสือหลากหลายประเภท ยิ่งช่วยให้คุณมีมุมมองหลายมุม และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเขียนของคุณได้

เหมือนกับ Wole Soyinka นักเขียนบทละครชาวไนจีเรีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1986 อธิบายถึงนิสัยการอ่านของเขาและการอ่านมีอิทธิพลต่อการเขียนของเขาเอาไว้ว่า “ผมได้อ่านวรรณกรรมของโลกมาอย่างมากมาย ทั้งยุโรป เอเชีย อเมริกัน … แต่ก็พยายามที่จะไม่ตัดสิ่งที่เป็นประสบการณ์ของตัวเองออกไป”

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าคุณสามารถอ่านงานเขียนที่หลากหลายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจหรือเพื่อศึกษาเทคนิคการเขียน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคัดลอกงานของผู้อื่นได้ เพราะท้ายที่สุดแล้วงานเขียนของคุณก็ควรเป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นมาเอง

4. ทำให้คนเชื่อในเรื่องที่จะเขียน

การเขียนเป็นงานศิลปะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพราะมันไม่เพียงแต่จับคำมาเรียงลำดับตามความคิด แต่ยังต้องทำให้ผู้อ่านเชื่อในเรื่องที่คุณเขียนด้วย เหมือนกับที่ Gabriel Garcia Marquez ผู้ที่เป็นทั้งนักเขียนนวนิยายชื่อดังอย่าง Cien años de soledad และเป็นนักข่าว และยังได้รับรางวัลโนเบลในปี 1982 ด้วย

เขาได้บอกถึงความแตกต่างระหว่างการเขียนข่าวกับการเขียนนิยายเอาไว้ว่า “ในแวดวงข่าว ข้อเท็จจริงเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่กระทบต่องานทั้งหมด ส่วนในนิยาย ข้อเท็จจริงข้อเดียวก็สามารถให้ความชอบธรรมแก่งานทั้งหมดได้เช่นกัน นี่เป็นข้อแตกต่างเพียงข้อเดียวเท่านั้น ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของผู้เขียนว่าจะเขียนออกมาตามที่ต้องการอย่างไรก็ได้ ตราบใดที่ทำให้คนอ่านเชื่อในสิ่งนั้นได้”

ไม่ว่าคุณจะเขียนนิยายแนวสัจนิยมที่มีฉากอยู่ในลอนดอน หรือนิยายไซไฟแนวโลกอนาคตบนดาวอังคาร การสร้างตัวละครที่น่าเชื่อ ฉากที่สมจริง ความตึงเครียด ผสมผสานกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพียงเท่านี้งานเขียนของคุณจะรู้สึกน่าเชื่อถือขึ้นมาทันที

5. ลงมือเขียนเป็นประจำ แล้วแรงบันดาลใจจะมาเอง

การเขียนหนังสือสักเล่ม ไม่ต่างจากการสร้างผลงานศิลปะ ที่ต้องใช้ทั้งอารมณ์และแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อน แต่บางครั้งการเฝ้ารอเวลาจนกว่าจะมีแรงบันดาลใจเต็มร้อย ก็อาจทำให้คุณเขียนหนังสือไม่สำเร็จ หรืออาจรอนานจนหมดกำลังใจไปเสียก่อน

แม้แรงบันดาลใจจะช่วยให้ผลงานออกมาดีเยี่ยม แต่ถ้าคุณอยากเขียนหนังสือให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันได้ คุณอาจต้องลองฝืนใจตัวเองสักครั้ง เลิกผัดวันประกันพรุ่ง ลุกขึ้นมาจัดสรรเวลาให้ดี และจับปากกาเขียนอย่างจริงจัง

แม้ช่วงแรก ๆ จะคิดไม่ออก สมองตันไปบ้าง แต่ลองขีดเขียนไปเรื่อย ๆ คิดอะไรออกก็เขียนไปก่อน เชื่อเถอะว่าไม่นานคุณจะเริ่มมีไอเดียใหม่ ๆ แล้วแรงบันดาลใจก็จะตามมาเอง

เหมือนกับ Mario Vargas Llosa นักเขียนชาวเปรู ที่มีผลงานตีพิมพ์นวนิยาย บทละคร และบทความมากกว่า 30 เรื่อง และยังได้รับรางวัลโนเบลในปี 2010 อีกด้วย เขาเคยเสนอแนวคิดนี้เอาไว้ครั้งหนึ่งว่า “ถ้าผมรอช่วงเวลาแห่งแรงบันดาลใจ ก็คงจะไม่มีวันเขียนหนังสือจบได้ แรงบันดาลใจสำหรับผม มาจากความพยายามอย่างสม่ำเสมอ การจัดตารางเวลาเพื่อเขียน และฝึกระเบียบวินัยด้วยการมีนัดหมายกับตัวเอง สิ่งนี้แหละที่จะช่วยให้คุณมีไอเดียในการเขียนเรื่องราว”

6. อย่าโฟกัสเป้าหมายสุดท้ายมากเกินไปในตอนที่เขียนอยู่

ในโลกของการเขียน การที่คุณรู้สึกว่าจะต้องเขียนงานให้เสร็จให้ได้จำนวนเท่านั้นภายในเวลาเท่านี้ ก็อาจจะทำให้รู้สึกกดดันและหนักใจ ในบรรดาเทคนิคการเขียนทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น คำแนะนำที่ John Steinbeck ให้ไว้ใน The Paris Review ปี 1975 ยังคงเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุด โดยเขียนไว้ว่า “ละทิ้งความคิดที่ว่าคุณกำลังจะทำมันให้สำเร็จ ไม่ต้องไปนึกถึงผลลัพธ์ว่าต้องเขียนให้ได้ 400 หน้า แค่เขียนเพียงหน้าเดียวในแต่ละวันก็ช่วยได้แล้ว พอทำเสร็จคุณจะแปลกใจอยู่เสมอ”

เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดามากที่คุณจะรู้สึกท้อแท้ หากมัวแต่ให้ความสนใจว่างานเขียนของคุณจะเสร็จตอนไหน อยากให้เปลี่ยนความคิดแล้วโฟกัสกับงานที่กำลังทำอยู่แทน วันนี้อาจจะเขียนได้เพียงหน้าเดียว แต่มันก็มากกว่าเมื่อวานนี้เพิ่มมาอีกหนึ่งหน้า จากนั้นก็เขียนเพิ่มวันละหน้าสะสมไปเรื่อย ๆ แล้วสักวันงานเขียนของคุณก็จะประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังเอาไว้ได้เอง

นักเขียนแต่ละคนมีเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างกันไป เพราะสุดท้ายแล้วก็ไม่ได้มีการบัญญัติกฎเกณฑ์เอาไว้ตายตัวว่าคุณต้องเขียนให้ได้ตามต้นแบบเป๊ะ ๆ นักเขียนหลายคนจึงเลือกที่จะเดินตามทางของตัวเอง กล้าออกนอกกรอบ ไม่ได้ยึดถือหลักการเดิม ๆ จนมีชื่อเสียงโด่งดังได้

สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียน ก็คือเป้าหมายที่จะได้ตีแผ่ความคิดและจินตนาการผ่านการตีพิมพ์หนังสือสักเล่ม เพราะฉะนั้น อย่ามัวแต่กังวลเรื่องเทคนิคจนไม่กล้าลงมือทำอะไร เริ่มเขียนตั้งแต่ตอนนี้เพื่อทำให้ความฝันของคุณเป็นจริง!

โลกใบนี้เป็นโลกของผู้คนที่เขียนได้ดี เล่าเรื่องได้น่าฟัง

ในเส้นทางของชีวิตของเราที่ผ่านมา เชื่อว่าทุกคนต้องประสบพบเจอเรื่องราวระหว่างทางมากมาย ทั้งอดทน ฝ่าฟัน กัดฟันสู้ เเละประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเราอยากเเบ่งปันเรื่องราวประสบการณ์ที่ทั้งดีเเละไม่ดีออกมาเพื่อให้เป็นประโยชน์เเก่ทุกคน

เเละหนึ่งในรูปเเบบการถ่ายทอด ก็คือการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ออกมาเป็น ตัวหนังสือ เเต่หลาย ๆ คนกลับไม่กล้าที่จะเขียนมันออกมา เพราะกลัวว่าจะเขียนได้ไม่ดี เขียนได้ไม่โดน หรือกลัวว่าไม่มีใครสนใจ

➤ E-Book “เส้นทางสู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพ”

จะช่วยให้ทุกคนก้าวผ่านความกลัวเเละเริ่มต้นเขียน

➤ เนื้อหาที่ท่านจะได้รับจาก E-Book เล่มนี้

บทที่ 1: กระบวนการเขียน กล่าวถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของการเขียน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูล การวางแผน การเขียนร่างแรก และการแก้ไขปรับปรุง

บทที่ 2: กลยุทธ์การเขียนเชิงลึก กล่าวถึงเทคนิคการเขียนที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเภทต่างๆ ของการเขียน เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก อารมณ์ และน้ำเสียง

บทที่ 3: ภาษา กล่าวถึงการใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสื่อสารความคิดและความรู้สึก

เเจกฟรี!! เเจ้งว่า “ebookครูม้อค”
ที่ลิงก์นี้ได้เลย ➤   https://lin.ee/QOJZpRO
โดย: ครูพี่ม้อค ธวัชชัย พืชผล
เจ้าของสำนักพิมพ์ 7D Book & Digital
Scroll to Top