6 นิสัย สู่อิสรภาพทางการเงิน

เทคนิควางแผนการเงิน (ฉบับง่าย) แต่ได้ผลจริง

“ทำไมเงินในบัญชีเหลือน้อยลงทุกวัน”

หลายคนทำงานมานาน แต่ยังตกอยู่ในสภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง มีเงินใช้แบบเดือนชนเดือน นอกจากจะไม่มีเงินเหลือเก็บหรือแบ่งไปลงทุนแล้ว ยังมีหนี้สินยังเรื้อรังบานปลาย กลายเป็นหายนะทางการเงินที่ยากจะแก้ไข 

จุดเริ่มต้นของปัญหาทางการเงิน ล้วนมาจากการวางแผนที่ผิดพลาด หากคุณบริหารเงินไม่เป็น จับจ่ายใช้สอยอย่างไร้แบบแผน ไม่คิดหน้าคิดหลัง และไม่สามารถควบคุม “นิสัย” การใช้เงินของตัวเองได้ ถึงแม้จะมีตำแหน่งสูง ๆ ได้เงินเดือนเยอะกว่าคนอื่น หรือมีเงินมรดกจากครอบครัวคอยสนับสนุน สุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นวังวนแห่งหนี้สินอยู่ดี 

แน่นอนว่า “นิสัยการใช้เงิน” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าคุณสามารถวางแผนและควบคุมการใช้เงินให้อยู่ในขอบเขตได้ คุณจะมีเงินกิน มีเงินใช้ มีเงินเก็บ และมีเงินลงทุนอย่างยั่งยืน 

และนี่คือ 6 นิสัยที่จะเปลี่ยนตัวเลขในบัญชีของคุณให้มากขึ้น

1. ลดการสนอง need ลงมาหน่อย

จะใช้เงินในการซื้อของแบรนด์เนมทำไมถ้าซื้อแล้วต้องกินมาม่าตลอดทั้งเดือน เราเข้าใจว่าการใช้ชีวิตมันก็ต้องสนอง need กันบ้าง แต่ถ้าใช้เกินตัวแล้วต้องเป็นหนี้หรือต้องใช้ชีวิตลำบาก มันก็ไม่ค่อยจะ make sense สักเท่าไหร ครั้งต่อไปต้องเปลี่ยนความคิดและลด need ลงมา จากที่เคยซื้อเสื้อผ้าใหม่ทุกเดือนก็เปลี่ยนเป็นนาน ๆ ทีซื้อครั้งหนึ่ง

2. ใช้ชีวิตให้เหมือนเศรษฐีนิรนาม

คนส่วนใหญ่คงคิดว่าเศรษฐีคงอยู่กับในแมนชั่นหรูหราระยิบระยับและมีรถหรูหราหลายคัน แต่ส่วนมากพวกเขาก็ไม่ได้ใช้ชีวิตเว่อร์วังอลังการขนาดนั้น พวกเขามักจะใช้เงินในแบบที่ ”สามารถจ่ายได้” และเก็บมากกว่าใช้

ขอยก David Sapper (เดวิด แซพเพอร์) จากลาส เวกัสเป็นตัวอย่าง เขาเป็นเจ้าของธุรกิจรถมือสองที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่ง ภรรยาของเขาเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พวกเขามีรายได้ต่อปี 500,000 ดอลลาร์ แต่เขาใช้เงินแค่ 2,500 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยรวมทุกอย่างตั้งแต่ค่าอาหาร ค่าสังสรรค์และค่าศึกษาเล่าเรียนต่าง ๆ โดยเขาเก็บเงินกว่า 90% จากรายได้ของพวกเขา แซพเพอร์ยังบอกอีกด้วยว่าเขาจะเกษียณตัวเองเร็วกว่าปกติ เพราะเงินเก็บที่เขามีกับธุรกิจที่มั่นคงทำให้อนาคตทางการเงินของเขาดูจะทำให้ชีวิตของเขาสบายกว่าคนอื่น

3. รู้จักเงินของคุณให้ดี

การเก็บเงินถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่ามีเงินเข้าบัญชีจากทางไหนบ้างหรือในแต่ละเดือนเงินออกไปเพราะค่าอะไร เรื่องแบบนี้ก็ทำให้ปวดหัวได้เหมือนกัน ความจริงก็คือเราไม่ค่อยจะติดตามเงินในบัญชีนักหรอก อะไรจะเข้าก็เข้า ออกก็ช่างมัน แต่ถ้าหากคุณไม่รู้ว่าเดือนนี้ใช้เงินกับค่าข้าวเท่าไร คุณจะเปลี่ยนนิสัยได้ยังไง

4. ออกจากวังวนหนี้

ทุกคนไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ต้องมีสักครั้งที่เป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิตที่บานปลาย หนี้เพื่อนที่ไม่มีเงินคืนสักที เสียเงินไม่พอ เสียเพื่อนได้อีก เพราะฉะนั้น การออกจากวังวนหนี้ถือว่าเป็นความสำคัญอันดับแรกที่ควรทำให้ได้ก่อน สร้างเงินสำรองเผื่อสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้เงินสำรองนี้เป็นเหมือนตัวรับประกันว่าเราจะไม่ตกเป็นหนี้อีกเมื่อเวลาแบบนั้นมาถึง

5. เพิ่มรายได้

มี 2 วิธีง่าย ๆ ที่จะเพิ่มรายได้ 1.ใช้ให้น้อย 2.เก็บให้มาก ที่เหลือก็ลงทุนให้หมด เงินเดือนที่มันคงที่มันไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เพราะเมื่อคุณใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน ค่าครองชีพก็จะโตตามไปด้วย ทางที่ดีคือเราต้องหาโอกาส โอกาสด้านการลงทุน รายได้จากงานพาร์ตไทม์ รายได้จากการปล่อยเช่าและทรัพย์สินหลังจากเกษียณ ด้วยการวางแผนทางการเงินที่ดี รายได้ของคุณก็จะเพิ่มขึ้นจากหลากหลายช่องทาง

6. ฟังความเห็นจากผู้รู้

เมื่อใดก็ตามที่คุณอยากพัฒนาหรือแก้ไขนิสัยการใช้เงิน การให้ผู้ที่มีความรู้ด้านการเงินช่วยก็ถือว่าเป็นทางออกที่ดีเสมอ เราต่างถูกอารมณ์ควบคุมการใช้เงิน แต่เมื่อคนที่มีความรู้ด้านการเงินเป็นคนนอก คนนอกจะมีความแม่นยำ มีมุมมองความเป็นมืออาชีพด้านการใช้เงินมากกว่าคนใน (ตัวเรา) เพราะคนนอกไม่ได้ถูกควบคุมโดยอารมณ์เหมือนคนใน นิสัยการขอคำปรึกษาจากผู้มีความรู้จึงเป็นสิ่งที่ควรมี ขจัด ego ของเราทิ้งไป

ลองเปรียบว่ากรุงเทพฯ คือชีวิตเรา ต้นไม้คือเงิน หากกรุงเทพฯ มีต้นไม้เยอะ ต้นไม้ก็จะช่วยให้กรุงเทพฯ ร่มรื่นและลดมลภาวะทางอากาศไปได้ แต่ถ้าหากกรุงเทพฯ ไม่มีต้นไม้เลย มันก็คงเหมือนกับคนหมดเนื้อหมดตัว อิดโรย 

แน่นอนว่าบางครั้งเราก็ต้องตัดต้นไม้ออกไปบ้าง แต่เราก็ต้องปลูกมันกลับมาด้วย ยิ่งมีต้นไม้เยอะเท่าไร กรุงเทพฯ ก็จะปลอดภัยต่อมลภาวะมากเท่านั้น เหมือนกับเงิน เรามีเท่าไร ก็จะทำให้ชีวิตของเราคล่องตัวมากเท่านั้น

อ่านบทความอื่นๆต่อได้ที่ https://7dhub.com/blog/

สั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://www.7dbookanddigital.com/

Scroll to Top