Ai ช่วยทำงานวิจัยได้เร็ว 10 เท่าจริงไหม ?

Ai ช่วยทำงานวิจัยได้เร็วกว่าเดิมเป็นสิบๆ เท่าได้จริงไหม ?

Ai ช่วยทำงานวิจัยได้เร็วกว่าเดิมเป็นสิบๆ เท่าได้จริงไหม ?

เอไอช่วยทำงานวิจัยได้เร็วกว่าเดิมเป็นสิบๆเท่าได้จริงไหม?

มีคนถามอาจารย์ปุด

“เอไอช่วยให้เราทำงานวิจัยเร็วขึ้น 10 เท่าหรือมากกว่านั้นได้ครับ

อยากจะทราบมั้ยว่าแต่ละส่วนมันช่วยให้เราทำงานเร็วขึ้นได้ยังไง ?”- อาจารย์ถามกลับ

Q: ช่วยคิดหัวข้อเร็วขึ้นไหม ?

A: เอไอช่วยคิดหัวข้อวิจัยไม่น้อยกว่า 10 เท่า ไม่ว่าจะให้คิดหัวข้ออิสระ หรืออาจจะมีสถานการณ์ให้ แล้วให้เอไอช่วย Generate หัวข้อให้

Q: แล้วในส่วนของการทบทวนวรรณกรรม ปกติแล้วเราจะใช้ระยะเวลานานมาก เอไอเข้ามาช่วยได้ยังไงบ้าง ?

A: เอไอช่วยในเรื่องการทบทวนกรรมเกิน 10 เท่า เพราะจะช่วยหาข้อมูล หางานวิจัยที่เราต้องการ จะไปทำการดึงงานวิจัยเหล่านั้นมาให้เราแล้วก็สามารถเขียนเป็นวรรณกรรม ปะติดปะต่อข้อมูลแต่ละงานวิจัยเข้าด้วยกันได้ อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องกลับไปหาต้นฉบับแล้วทบทวนด้วยตัวเองอีกครั้ง แต่โดยรวมคือถ้าจะให้เอไอเขียน เอไอจะเขียนให้ได้แบบเบ็ดเสร็จแล้วอ้างอิงแบบครบถ้วน

Q: ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล มันเหมือนกับเป็นการปราบเซียนในการทำวิจัย คนส่วนใหญ่ที่พลาดตรงนี้เขาก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะข้อมูลที่เราเก็บมานั้นใช้ได้ไหม วิเคราะห์ใช้ตัวไหนดี เอไอสามารถเข้ามาช่วยได้เหมือนกันใช่ไหม ?

A: การวิเคราะห์ข้อมูล เอไอก็ช่วยได้ไม่น้อยกว่า 10 เท่าเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเร็วขึ้นและดีขึ้น เพราะเอไอสามารถเข้าใจภาษามนุษย์ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยที่เราใช้ภาษามนุษย์ในการสั่งการให้เขาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังสอนเราด้วยว่าจะใช้สถิติอะไร รวมทั้งการตีความด้วยว่าผลการวิเคราะห์ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร

Q: หลายคนเขียนวิจัยออกมาได้ค่อนข้างที่จะดีมาก แต่ว่าตกม้าตายในส่วนสุดท้ายของการวิจัยก็คือสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อยากรู้ว่าเอไอจะช่วยเขียนตรงส่วนนี้ให้มีความชัดเจนได้ไหม ?

A: ถ้าเรื่องสรุปผลการวิจัยเรียกว่าช่วยได้เป็น 100 เท่าจะดีกว่า เพราะมันจะดึงข้อมูลที่เราเขียนไว้แล้วในก่อนหน้านั้นมาช่วยสรุปให้ ส่วนอภิปรายผลก็ไม่น้อยกว่า 10 เท่าเช่นเดียวกัน เอไอสามารถอธิบายผลที่ได้มาเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่เราทบทวนไว้ก่อนหน้านั้น รวมทั้งการเสนอแนะ เอไอก็สามารถเสนอแนะได้ค่อนข้างดี โดยใช้ผลที่มีอยู่มาช่วยเสนอแนะให้เราอย่างรวดเร็ว

Q: ในส่วนบรรณานุกรมที่บางครั้งเราทำวิจัยแล้วอาจจะมีอ้างอิงสัก 100-200 เอไอจะช่วยจัดลำดับ ทำ

บรรณานุกรมตามรูปแบบที่เราต้องการได้ใช่ไหม ?

A: อย่าลืมว่างานวิจัยของเราบางทีมีเป็น 100-200 อ้างอิง แล้วต้องย้อนกลับไปดูอีกว่าต้นฉบับที่เราใช้อ้างอิงนั้นอยู่หน้าไหน หาเจอบ้างไม่เจอบ้าง แต่เอไอมาช่วยให้เราได้เร็วขึ้นเป็น 100 เท่า แล้วเราสามารถเลือกได้อีกว่าจะเอาแบบไหน เช่น APA Style หรือตามข้อกำหนดของวารสารนั้นได้เลย

Q: แล้วเรื่องการแปลงงานวิจัยให้เป็นบทความวิชาการ เอไอสามารถช่วยได้มากขึ้นไหม ?

A: สมมติเรามีงานวิจัยอยู่แล้ว 500 หน้า หรือ 1,000 หน้า แล้วจะแปลงบทความวิชาการประมาณ 12 หน้าได้ยังไง ? เอไอช่วยได้ สามารถแปลงงานเหล่านั้นมาเป็นบทความวิชาการได้ นอกจากนี้ยังได้สเปกตรงตามวารสาร

ที่ต้องการได้ด้วย เราใส่หลักเกณฑ์ตามวารสารของเขา หรือใส่ไฟล์ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของวารสาร แล้วก็ให้เอไอช่วยแปลงจากงานวิจัยของเรามาเป็นวารสารภายใต้จำนวนหน้า ภายใต้รูปแบบที่เขาต้องการได้ทันที

___________

ข้อจำกัดที่คุณกังวล กลายเป็น 0 ได้ทันที

แค่คุณรู้จักใช้ Ai เป็นผู้ช่วยงานวิจัย

คือหลักสูตรที่อาจารย์ปุด ดร.สุขยืน เทพทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย กลยุทธ์ และพัฒนาธุรกิจ 10 X โดยใช้ AI ลุกขึ้นมาสอนในแบบจับมือทำ ที่แม้ท่านไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็สามารถทำได้

สนใจคลิกลิงก์ด้านล่างได้เลย

https://www.facebook.com/share/p/nuiWEUHuve3p3A5H/?mibextid=WC7FNe

___________

Q: แล้วเรื่องบทคัดย่อ จะช่วยให้เร็วขึ้นเหมือนกันใช่ไหม ?

A: เอไอสามารถเอาเนื้อหาของเรามาเปลี่ยนบทคัดย่อได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องมี Prompt ที่ดีด้วย เช่น เราอยากให้เอไอเขียนบทคัดย่อ หรือเราจะบอกเอไอว่าบทคัดย่อประกอบด้วยอะไรบ้าง วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี ผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ จำนวนกี่คำ เอไอก็จะเขียนให้เราได้ทันที ช่วยร่นระยะเวลาไปได้มากทีเดียว

Q: ถ้าสมมติว่าพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษไม่ดีเลย แกรมมาร์ไม่ได้ เอไอจะเข้ามาช่วยเราแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ไหม ?

A: อันนี้เป็นความดีงามของเอไอในยุคปัจจุบัน เพราะเอไอสามารถแปลงไปแปลงมาได้แทบจะทุกภาษา ทำให้เราสะดวกมาก ๆ เราสามารถที่จะเอาผลงานของเราไปตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติได้โดยที่ไม่มีปัญหาเรื่องภาษา ถ้าคิดว่าภาษามันยังไม่ดีพอก็สามารถบอกเอไอได้ว่าช่วยแปลให้มีความเป็นวิชาการมากขึ้น มีความเฉพาะเจาะจงในด้านนั้นมากขึ้น เพราะเอไอคือกูรูในด้านภาษาเลยทีเดียว อย่างเช่นตอนนี้ ChatGPT มีมากกว่า 70 ภาษา

Q: แล้วในทางกลับกันก็คือช่วยให้เราหาข้อมูลตอนตั้งต้นเพิ่มจากวิจัยภาษาอื่นได้

เหมือนกันใช่ไหม ? เพราะตอนวิจัยเคยมีบทคัดย่อของคนอื่นที่มันตรงกับวิจัยของเราแล้วน่าสนใจ แต่เป็นภาษาที่ 3 ที่เราอ่านเองไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้เอไอจะช่วยได้ใช่ไหม ?

A: ช่วยได้ เพราะเอไอสามารถหาได้หลากหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษารัสเซีย ภาษาจีน ภาษาสเปน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพิจารณาด้วยว่ามันอยู่ในฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือด้วยหรือเปล่า

Q: แล้วเมื่อกี้ที่พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนผลการวิจัยเป็นบทความวิชาการ สามารถจัดให้เป็นตามรูปแบบวารสารที่เราต้องการส่งไปได้ โดยการให้เอไอสแกนตัวอย่างวารสารที่ได้ทำการตีพิมพ์แล้ว แล้วเราจะมั่นใจได้ยังไงว่ามันจะไม่กลายเป็นการ Plagiarism

A: การ Plagiarism มี 2 รูปแบบ คือ 1.เชิงรูปแบบการเขียน 2.เชิงเนื้อหา

สมมติว่าเรา Plagiarism ในเชิงรูปแบบการเขียนเรียบร้อยแล้วโดยที่เราไม่ได้อ้างอิง อันนี้ถือเป็น Plagiarism เช่นเดียวกัน ซึ่งการเปลี่ยนผลการวิจัยเป็นบทความวิชาการเหมือนเป็นการย่อความเพียงเท่านั้น ภาษาที่อยู่ในบทความวิชาการก็จะเป็นเนื้อหาจากงานของเราเอง เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่าเนื้อหาที่เอไอสรุปมาถือว่าเป็นของเรา ผลการศึกษาเป็นของเรา โดยหลักการแล้วไม่ได้ขัดกับ Plagiarism

ตอนจบ อาจารย์ทิ้งท้ายว่า

“หวังว่าทุกท่านจะได้ไอเดียในการทำงานวิจัยให้เร็วขึ้น แล้วก็อยากให้สนุกกับงานวิจัยและช่วยสร้างสรรค์ผลงานวิจัยขึ้นมาเยอะ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับอาชีพของเรา รวมทั้งเป็นประโยชน์กับประเทศชาติด้วย”

ทีม 7D ขอบคุณอาจารย์ปุด ดร.สุขยืน เทพทองมากกกกกกกกกค่ะ

แจกฟรี !!

กว่า 100 prompt สำหรับการเขียนงานวิจัย

Ai ช่วยทำงานวิจัยได้เร็ว 10 เท่าจริงไหม ?

Ai ช่วยทำงานวิจัยได้เร็ว 10 เท่าจริงไหม ?
วิธีดาวน์โหลด เพียงแค่สแกน QR Code
หรือคลิกที่ลิงก์ ➤ https://lin.ee/QOJZpRO และพิมพ์คำว่า prompt วิจัย
Scroll to Top