
ทำไม 99% ของอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เคยได้เป็น “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ?
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนเก่งจำนวนมาก ถึงไม่เคยได้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการเลย ?
ผมมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับนักวิชาการจำนวนมาก ทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยระดับท้องถิ่น ไปจนถึงนักวิจัยในสถาบันระดับชาติ มีทั้งคนที่สอบได้ทุนจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ตั้งแต่อายุ 18 ปี และคนที่กลับมาเรียนปริญญาเอกตอนอายุ 50 เพราะความฝันยังไม่หมดอายุ แต่สิ่งที่ผมสังเกตคือ…
คนที่มีวุฒิครบ แต่ไม่เคยได้เลื่อนขั้นตำแหน่งทางวิชาการ มีจำนวนมากเกินไป
มากเสียจนผมอยากถามว่า นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับระบบ หรือ…กับใจของเรากันแน่?

1. วุฒิถึง แต่วุฒิทางใจยังไม่พอ
รู้ไหมว่าการจะเลื่อนตำแหน่งเป็น “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ในระบบมหาวิทยาลัยไทย คุณต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ จบปริญญาเอก (หรือเทียบเท่า) ทำงานในมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีตำราหรือบทความวิจัยที่ผ่านเกณฑ์และส่งประกวด ซึ่งถ้ามองบนกระดาษอาจดูเหมือนง่าย
แต่ความจริงแล้วกว่า 80% ของอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่เคยเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการเลยตลอดชีวิตราชการ ไม่ใช่เพราะขาดคุณสมบัติ แต่เพราะขาด “ความชัดเจน – ความกล้า – และความต่อเนื่อง” ในการลงมือทำจริง
2. โรคยอดฮิตของนักวิชาการ “ฉันยังไม่พร้อม”
“ตำรายังเขียนไม่เสร็จเลยครับ”
“ผมอยากได้งานวิจัยที่มันเป๊ะกว่านี้ก่อนครับ”
“ยังไม่กล้าใช้ AI กลัวงานไม่สมบูรณ์”
“กลัวกรรมการจะไม่ให้ผ่าน”
แม้ทุกคำพูดจะฟังดูมีเหตุผล แต่ว่าหากมองลึกลงไป มันไม่ใช่เหตุผลจริง ๆ แต่คือข้ออ้างที่ซ่อนอยู่ในความกลัว กลัวว่างานจะไม่สมบูรณ์แบบ กลัวถูกตำหนิ หรือกลัวว่าตัวเองยังไม่เก่งพอที่จะส่งผลงานเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ
หากคุณยังคิดว่า “รอให้พร้อมก่อนค่อยทำ” อยากให้ลองถามตัวเองกลับว่า… “แล้วคุณจะพร้อมเมื่อไหร่?” เพราะความสมบูรณ์แบบไม่มีจริง และการเลื่อนตำแหน่งไม่เคยเกิดขึ้นจากการรอ

3. ความสมบูรณ์แบบเป็นศัตรูของความก้าวหน้า
ใครบางคนเคยพูดไว้ว่า “Done is better than perfect.” แต่ในวงการวิชาการ คำพูดนี้กลับกลายเป็น “Bad word”
ความสมบูรณ์แบบคือศัตรูตัวฉกาจของความก้าวหน้า โดยเฉพาะในวงการวิชาการที่หลายคนตั้งเงื่อนไขกับตัวเองว่า “ต้องสมบูรณ์แบบก่อนถึงจะส่ง” จนสุดท้ายกลับไม่เคยส่งเลย
แม้ปัจจุบันจะมี AI อย่าง ChatGPT หรือ Claude ที่สามารถช่วยเขียนตำราในระดับร่างแรกให้คุณได้ภายใน 3 วัน แต่หลายคนยังลังเล กลัวว่างานจะไม่ใช่สำนวนตัวเอง หรือรู้สึกว่ามันเป็นปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เสียงของตัวเอง จนผลงานสำคัญสำหรับเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการยังคงเป็นเพียงไอเดียในหัว ไม่ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นต้นฉบับจริงสักที
4. ทำไมคนที่รู้เยอะถึงเขียนไม่จบ ?
คนรู้เยอะมักติดกับ “สภาวะรู้มากไป จนไม่กล้าตัดใจ”
คุณเคยเป็นไหม เขียนบทที่ 1 ไป 10 รอบแต่ลบทุกครั้งเพราะรู้สึกว่า “มันยังไม่ดีพอ” ตั้งชื่อหนังสือ 20 แบบแต่ไม่มีเล่มไหนเสร็จ หรือเขียนคำนำเสร็จแล้วก็กลับมาแก้อีกซ้ำ ๆ
นั่นแหละครับ… คือกับดักของคนที่มีสมองดี แต่ไม่ยอมใช้ใจตัดสินใจ
คนฉลาดมี “Critical Thinking” แต่บางทีต้องการ “Commitment Thinking” คือคิดให้จบ แล้วลงมือส่งจริง
5. ทำไม AI ไม่ได้ทำให้คุณแย่ลง แต่ทำให้คุณไปต่อได้
หลายคนกลัวว่าใช้ AI ช่วยเขียนตำรา แล้วจะไม่ Original
แต่ในความจริงคุณเองก็เคยอ่านตำราหลายเล่มแล้วนำมาสรุปต่อยอดอยู่แล้ว AI ก็เพียงทำหน้าที่อ่านเร็วแทนคุณ สรุปแทนคุณ จัดโครงสร้างแทนคุณ แต่สุดท้ายคุณยังต้องตีความ ปรับแก้ และต่อยอดเอง
คนที่รู้จักใช้ AI เป็นเครื่องมือ คือคนที่เดินนำในวงการวิชาการไปก่อน 5 ปี แต่คนที่ยังรอให้ทุกอย่างสมบูรณ์ก่อน คือคนที่ยืนรอรถไฟที่ไม่มีวันมาถึง

6. เปลี่ยน Mindset ก่อนจะเปลี่ยนตำแหน่ง
ถ้าคุณยังติดกับดักเหล่านี้ ทั้งรอให้หัวหน้าอนุมัติ รอให้มีเวลาว่าง รอให้ลูกโต หรือรอให้ตัวเองมั่นใจกว่านี้ คุณจะยังอยู่ที่เดิมไปอีก 10 ปี
เพราะตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ไม่ได้เกิดจากการรอ แต่เกิดจากการ “เขียน – ส่ง – โดนตีตก – แก้ใหม่ – แล้วส่งใหม่”
คนที่สามารถเลื่อนตำแหน่งได้สำเร็จไม่ใช่เพราะเก่งกว่า แต่เพราะเขาลงมือทำมากกว่าคุณ กล้าที่จะเริ่ม กล้าที่จะผิดพลาด และกล้าที่จะปรับจนกว่างานจะผ่าน จึงไม่แปลกที่คนเหล่านั้นจะไปไกล ในขณะที่คนที่ยังรอก็ยังคงอยู่ที่เดิม
7. ใช้ AI ยังไงให้ได้ตำแหน่ง ไม่ใช่แค่ได้ไฟล์
AI ไม่ใช่เครื่องวิเศษที่กดแล้วได้งานเสร็จทันที แต่เป็น “ผู้ช่วยอัจฉริยะ” ที่จะช่วยเร่งกระบวนการเขียนงานวิชาการให้ไวและเป็นระบบมากขึ้น คุณสามารถใช้ AI ทำสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น
- สรุปบทความวิจัยที่ต้องการอ้างอิง
- ช่วยตั้งชื่อหัวข้อให้กระชับ
- จัดโครงร่างตำราให้เห็นภาพชัด
- เปรียบเทียบหลักสูตรในประเทศกับต่างประเทศ
- จัด Reference ให้อัตโนมัติในรูปแบบ APA หรือ MLA ที่ถูกต้อง
ที่สำคัญ AI ยังทำหน้าที่เป็นเพื่อนเตือนใจว่า “เมื่อไหร่คุณจะส่งงาน?” เพราะสาเหตุที่หลายคนไม่เดินหน้า ไม่ใช่เพราะขาดความรู้ แต่เพราะขาด แรงกระตุ้นในการเขียนงานวิชาการ AI จึงเป็นเหมือนผู้ช่วยที่ไม่บ่น ไม่เหนื่อย และพร้อมช่วยทุกเวลา ขอแค่คุณเปิดปากสั่งให้มันทำงาน

8. ปัญหาไม่ใช่ “ไม่มีเวลา” แต่คือ “ไม่มีระบบ”
ถ้าคุณยังนั่งเขียนตำราแบบไม่มีเป้าหมาย เขียนตามอารมณ์ หรือเขียนเฉพาะเวลาว่าง บอกได้เลยว่าตำรานั้นไม่มีวันเสร็จ
เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ตั้งเป้าให้ชัดว่า 1 วันต้องเขียนให้ได้ 500 คำ ใช้ AI ช่วยเขียนร่างให้ทุกบท ตั้งเวลาเขียนแค่วันละ 30 นาที และหาเพื่อนร่วมเขียนในไลน์กลุ่มหรือทีมเดียวกัน
เป้าหมายต้องชัด ระบบต้องมี ตัวช่วยอย่าง AI ต้องใช้งานให้เต็มที่ และใจต้องกล้าก้าวไปข้างหน้า
ถ้าคุณทำครบ ผมกล้าการันตีว่า “ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์” อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และคุณจะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งใน 12 เดือนแน่นอน
9. ถ้าคุณเขียนตำราเสร็จ จะเกิดอะไรขึ้น?
ลองนึกภาพดู… คุณได้เลื่อนเป็น “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” มีเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้น ได้รับคำเชิญไปเป็นวิทยากรมากขึ้น ผลงานตำราของคุณถูกวางอยู่ในห้องสมุด นักศึกษาอ้างอิงชื่อคุณในวิทยานิพนธ์ และเด็กที่เคยเรียนกับคุณบอกว่า “อาจารย์คือแรงบันดาลใจ”
ตำราเพียงเล่มเดียวสามารถเปลี่ยนอนาคตทั้งชีวิตคุณได้ แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณไม่เริ่ม “พิมพ์คำแรก” และส่ง “ต้นฉบับแรก” ออกไป
แม้มันจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่อย่างน้อยมันจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการที่คุณฝันถึง
10. ใครคือ 1% ที่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”
ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด ไม่ใช่คนที่ว่างที่สุด และไม่ใช่คนที่มีทุนหรือเวลามากที่สุด
แต่คือคนที่ “เขียนให้จบและกล้าส่ง แม้จะยังกลัวอยู่” คนที่รู้จักใช้ AI เป็นเพื่อนร่วมทีม ไม่ใช่คู่แข่ง และคนที่ยอมรับว่า… งานไม่มีวันสมบูรณ์แบบ 100% แต่ต้องลงมือทำให้ “เสร็จ” เพื่อเริ่มพัฒนา
เพราะตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ไม่ได้มอบให้คนที่คิดเก่งที่สุด แต่มอบให้คนที่กล้าทำจริง จนสำเร็จจริง

คุณไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แค่กล้าทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ
ความท้าทายในการก้าวสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถทางวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของ “กรอบความคิด” และการเอาชนะอุปสรรคภายในตัวเอง
หลายคนไม่ประสบความสำเร็จเพราะติดกับดักความไม่มั่นใจ คิดว่า “ฉันยังไม่พร้อม” หรือ “ผลงานฉันยังไม่ดีพอ” จนกลายเป็นวงจรที่ทำให้ไม่กล้าเริ่มต้น บางคนรอเวลาที่สมบูรณ์แบบ เฝ้ารอจนกว่าจะรู้สึก “พร้อมเต็มที่” ซึ่งวันนั้นอาจไม่มีวันมาถึง หรือบางคนกลัวการถูกวิจารณ์ กลัวว่าผลงานจะถูกปฏิเสธหรือวิพากษ์วิจารณ์ จนไม่กล้าส่งผลงาน
การเลื่อนตำแหน่งวิชาการไม่ใช่การแข่งกับคนอื่น แต่เป็นการเอาชนะข้อจำกัดของตัวเอง
ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากคนที่เก่งที่สุด แต่เกิดจากการกล้าลงมือทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้า ไม่ใช่รอความพร้อมที่อาจไม่มีวันมาถึง เลิกบอกตัวเองว่า “ฉันยังไม่เก่งพอ” แล้วลองถามกลับว่า “ถ้าฉันไม่เริ่มวันนี้… อีกกี่ปีฉันจะได้เป็นผศ.?”
…..
หลักสูตรออนไลน์ สำหรับครู อาจารย์ นักวิชาการ ที่อยากเลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์

ใช้ AI เป็นผู้ช่วยเขียนตำราวิชาการ
เปลี่ยนการเขียนตำราให้เป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วด้วย AI
เรียนรู้การใช้ AI เพื่อสร้างผลงานคุณภาพสูง ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ได้ผลเร็วเกินคาด
- เขียนเร็วขึ้น : ใช้ AI ช่วยคุณสร้างเนื้อหาได้ทันกำหนด
- ไม่ซับซ้อน : เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน AI มาก่อน
- สำเร็จง่าย : ได้งานเขียนที่ผ่านเกณฑ์และประทับใจทุกคน
หลักสูตรนี้จะเพื่อช่วยให้คุณ…
- ใช้ AI เขียนตำราได้อย่างง่ายดาย
- สร้างเนื้อหาคุณภาพสูง ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
- ประหยัดเวลา แต่ยังได้ผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมาย
• ติดตามข่าวสารช่องทางอื่น คลิก –> 7D Hub