นำพลังความรู้ ต่อยอดสู่หนังสือ 1 เล่ม

นำพลังความรู้ ต่อยอดสู่หนังสือ 1 เล่ม

นำพลังความรู้ ต่อยอดสู่หนังสือ 1 เล่ม

เปลี่ยนคลังความรู้ในสมอง หรือนำพลังความรู้ ต่อยอดสู่หนังสือ 1 เล่ม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้กับหลักสูตรสร้างชุดความรู้โดยให้ AI เป็นผู้ช่วย นี่คือโครงการ ปั้น 240 นักเขียน ที่ปรึกษา แบ่งปันความรู้ขับเคลื่อนสังคม – โปรเจกต์ทิ้งทวนจากครูพี่ม้อค

ครูพี่ม้อคอยากให้ทุกท่าน “สนุกกับการเขียน และได้ผลิตหนังสือตามที่ต้องการ”

ครูพี่มอธอยากให้ทุกท่าน “พูดคุยกับ AI เหมือนเพื่อนคู่คิดคนนึง”

มีความรู้มากจนไม่รู้จะเริ่มเขียนจากไหน ทำยังไงดี?

วิธีการแก้ปัญหาคือ ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแนวคิดให้ชัดเจน ว่าสิ่งที่เราจะเขียนนั้นเป็นประโยชน์ต่อใคร เราไม่จำเป็นต้องให้ความรู้กับทุกคน แค่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดก็พอ

ปลายทางของเรา คืออะไร?

ถ้าเราต้องการสร้างแบรนด์ การมีหนังสือออกขายจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและทำให้การขายสินค้าง่ายขึ้น แต่ถ้าเขียนเพื่อความสุข เราไม่จำเป็นต้องสนใจยอดขายใดๆ ดังนั้นการมองปลายทางให้ชัดเจนว่าเราต้องการอะไรจากการเขียนหนังสือคือสิ่งสำคัญ หนังสือจะเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือเป็นบันไดให้เราต่อยอด ขึ้นอยู่กับคุณ

เทคนิคการขายและการสร้างแบรนด์

เมื่อเราจะสร้างแบรนด์ สิ่งสำคัญคือการวางแผนอย่างชัดเจน ตั้งแต่กลุ่มเป้าหมาย ใครคือผู้บริโภคหลัก และพวกเขามีความต้องการอะไร จากนั้นต้องกำหนดงบประมาณและวางแผนการทำงานในแต่ละปี เพื่อที่จะรู้ว่าในปีหน้าเราจะมีรายได้เท่าไหร่

การสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงต้องมี Corporate Identity (CI) ที่ชัดเจน ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะและภาพลักษณ์ของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อเราชัดเจนในตัวตนของแบรนด์แล้ว ก็ต้องพัฒนา Content ที่เหมาะสมกับแต่ละ platform เช่น Facebook เหมาะกับการอ่าน YouTube เหมาะกับวิดีโอ และ TikTok เหมาะกับ Content ที่สั้นและดึงดูดความสนใจ

รู้จักทฤษฎีการส่งสาร (S M C R)

นำพลังความรู้ ต่อยอดสู่หนังสือ 1 เล่ม

S – Sender (ผู้ส่งสาร)

ภาพลักษณ์ของผู้ส่งสารต้องชัดเจนว่าต้องการให้ผู้รับสารจดจำอย่างไร เช่น อยากให้จดจำแบบทรัมป์หรือบียอนเซ่ หรือแบบอาจารย์เฉลิมที่สร้างวัดร่องขุ่น เป็นต้น

M – Message (สาร)

สารที่ส่งออกไปต้องตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น หากเป็นแบรนด์หรู สารก็ต้องมีความเป็นมืออาชีพและมีคุณค่า

C – Channel (ช่องทาง)

การเลือกช่องทางการสื่อสารต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การส่งสารผ่าน Facebook, TikTok, หรือ YouTube แต่ละช่องทางมีลักษณะเฉพาะและต้องการวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกัน

R – Receiver (ผู้รับสาร)

ต้องตรวจสอบผลตอบรับจากผู้รับสารว่าถูกใจอย่างไร มีการไลค์ แชร์ หรือมีคำถามอะไรบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุง Content ให้ดียิ่งขึ้น

ประเภทของ Content

1. Content สำหรับ Branding

เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์และสร้างความสัมพันธ์กับผู้ติดตาม โดยมีการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้แรงบันดาลใจ และแก้ปัญหาตรงจุด

2. Content สำหรับการตลาด

มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ติดตามทำการซื้อหรือมีส่วนร่วมกับแบรนด์ โดยคำนึงถึงว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย ต้องการให้ผู้ติดตามทำอะไร บอกเหตุผลที่ผู้ติดตามควรทำตาม

ทฤษฎี SPEAK คืออะไร

S: พูดไปเพื่ออะไร ก่อนพูดต้องชัดเจนว่าเราจะนำเสนออะไร

P: ลำดับการเล่าเรื่อง จัดเรียงเนื้อหาให้เป็นระเบียบ

E: อารมณ์ (Emotion) ใส่อารมณ์ในการเล่าเรื่อง เช่น การเปรียบเทียบ

A: กลุ่มเป้าหมาย (Audience) รู้ว่าเราพูดกับใคร

K: Key Message เน้นสาระสำคัญให้ชัดเจน

ให้ AI ออกแบบชุดความรู้ของคุณ

ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร ให้ลองใส่ประวัติตัวเองลงไปก่อน เช่น เป้าหมาย ความต้องการ ความเชี่ยวชาญ และผลงานของตัวเอง หรือคุณสามารถถาม AI ว่า “จะเขียนเรื่องอะไรได้บ้าง”

คุณสามารถเริ่มจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถ้าคุณมีแนวคิดแต่ไม่รู้ว่าจะเขียนให้ใคร ถาม AI ว่า “แนวคิดนี้เหมาะกับกลุ่มไหน”

AI จะช่วยแนะนำในสิ่งที่คุณป้อนให้ อย่าเพิ่งท้อใจหากได้คำตอบที่ไม่ถูกใจ ให้ถามซ้ำหรือปรับคำถามได้

ท้ายที่สุด AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยเราทำงานให้เร็วขึ้น และชัดเจนขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธีและมีข้อมูลเพียงพอที่จะให้ AI ใช้ในการวิเคราะห์และตอบคำถามของเรา

สุดท้ายนี้ครูพี่ม้อคอยากให้ทุกท่าน “ประสบความสำเร็จ และมีหนังสือเป็นของตนเองอย่างน้อย 1 เล่ม”

“คน 97% อยากมีผลงาน แต่ไม่สำเร็จ
ขอชวนคุณมาท้าพิสูจน์กับหลักสูตรนี้กันครับ
เพราะผมจะปั้น แถมได้เอไอช่วย
มาเป็น 240 คนที่มีผลงานจริงกันนะครับ”

สนใจสมัครหลักสูตร สร้างชุดความรู้โดยให้ AI เป็นผู้ช่วย
ทักในช่องความคิดเห็นหรือในอินบ็อกซ์ทันทีตอนนี้บอกรุ่นที่ท่านต้องการ

นำพลังความรู้ ต่อยอดสู่หนังสือ 1 เล่ม

อีกช่องทางสำหรับการสั่งซื้อ @Line (@7d.hub) หรือสแกน QR code นี้ได้เลยค่ะ

Scroll to Top