การวางบิลและการเบิกเงินค่างวดงาน ของผู้รับเหมา

รอลูกค้าจ่ายเงินงวดเดียวแล้วผู้รับเหมาจะเอาเงินที่ไหนไปหมุน

ใคร ๆ ต่างก็พูดกันปากต่อปากว่าคนทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทำแล้วก็รวยกันทั้งนั้นแหละ ยิ่งไปฮั้วกับร้านขายวัสดุก่อสร้างที่คุ้นหน้าคร่าตากันดีก็จะยิ่งได้ส่วนลดจนต่อยอดมาเป็นกำไรในท้ายที่สุดได้เป็นอย่างดี ซึ่งนั่นก็คงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ใครอีกหลายคนต่างก็คิดไปแล้วว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง แค่สร้างบ้านเป็น ซื้อของเป็น ก็รวยได้แล้ว

แต่ในความเป็นจริงใครล่ะจะรู้ว่ากว่าจะเงินมาแต่ละบาท กว่าจะจบงานได้แต่ละงานต้องลงทุนลงแรงไปตั้งเท่าไหร่

ปัญหาโลกแตกอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมารายใหญ่หรือผู้รับเหมารายย่อยต่างก็ต้องเจอกันเป็นเรื่องปกติก็คงไม่พ้นเรื่อเงิน ๆ ทอง ๆ อย่างแน่นอน ในแวดวงนี้คงมีผู้รับเหมาจำนวนไม่น้อยที่ต้องบาดเจ็บจากเรื่องนี้โดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถบริหารจัดการทั้งเรื่องงวดงานและการเบิกเงินได้ดีเท่าที่ควร

ผู้รับเหมาบางเจ้าเบิกแค่ค่าของ งานจบค่อยรอค่าจ้างทีเดียว บางคนเบิกทั้งค่าแรงและค่าของแบบไม่มีจำกัด หมดก็ซื้อ ขาดก็เติม จนกลายเป็นว่าต้นทุนที่จะนำมาหมุนในการก่อสร้างนั้นเกิดหยุดชะงักลงกลางทางไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งก็ตาม แล้วผลลัพธ์จะออกมาเป็นแบบไหนได้นอกเสียจากงานไม่จบ และเงินก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน

มากไปกว่านั้นยังไม่รวมถึงผู้รับเหมาอีกหลายคนที่ใช้วิธีการเบิกเงินค่างวดงานผ่านการวางบิลที่เรียกว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของผู้รับเหมา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่วางบิลไม่ตรงตามงวดก็เท่ากับว่าผู้รับเหมาจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายไปก่อนจนกว่าจะได้รับเงินในงวดถัดไป

แต่ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากพลาดโอกาสดี ๆ ในธุรกิจของตัวเอง รวมถึงผลตอบแทนที่ตัวเองควรจะได้รับหรอกจริงไหม?

ฉะนั้นแล้วจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ตัวผู้รับเหมาเองจะต้องรู้วิธีจัดการต้นทุนวัสดุ การวางบิลและรับเงิน ก่อนที่จะธุรกิจจะกลายเป็นเสียมากกว่าได้

real estate

เริ่มจาก…

การแบ่งวางบิลผู้รับเหมาเป็นงวดตามงานที่เสร็จ

การแบ่งงวดงานก็เป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้เห็นถึงความคืบหน้าของงานก่อสร้างที่กำลังทำอยู่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นก็เป็นตัวช่วยที่จะทำให้ผู้รับเหมาสามารถนำไปเบิกค่างวดงานจากผู้ว่าจ้างได้เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการจ่ายเงินไม่สามารถทำได้ทีเดียวครบเต็มจำนวนโดยเฉพาะกับงานที่มีสเกลใหญ่ ๆ ที่มีต้นทุนการก่อสร้างสูงและต้องประเมินจากความคืบหน้าของหน้างานเพื่อประกอบการพิจารณาการเบิกค่างวด ดังนั้นการวางบิลหรือการแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าจะต้องดำเนินการเมื่องานเสร็จสิ้นแต่ละงวดตามที่ได้ทำการตกลงไว้ก่อนจึงจะสามารออกใบแจ้งหนี้หรือวางบิลเพื่อรอรับชำระเงินค่างวดงานได้

อย่างไรก็ตามการออกใบแจ้งหนี้หรือการออกใบวางบิล เป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ช่วยยืนยันว่าได้มีเงินที่จะต้องได้รับชำระเกิดขึ้น และผู้รับเหมามีสิทธิ์ได้รับเงินจากการรับเหมาก่อสร้างแล้ว ซึ่งหมายความว่า ถ้างานแต่ละงวดเสร็จแล้ว ต้องรีบทำเอกสารใบแจ้งหนี้หรือใบวางบิลทันที

วิธีวางใบวางบิล/ใบแจ้งหนี้ ผู้รับเหมา

  • สอบถามฝ่ายบัญชีของลูกค้าเรื่องกำหนดการวางบิลและรับเช็คของบริษัท
  • จัดเตรียมเอกสารจำนวน 1 ชุด (ต้นฉบับ และสำเนา) หากมีใบเสนอราคา หรือใบสั่งซื้อควรแนบเอกสารไปกับใบวางบิลด้วย
  • การนำส่งเอกสาร ผู้รับเอกสารจะเซ็นชื่อเพื่อเป็นการรับรองการวางบิล ในขั้นตอนนี้ต้นฉบับเอกสารจะอยู่กับลูกค้า ในขณะที่เอกสารสำเนาให้ผู้รับเหมานำกลับมาด้วย
  • รับเช็คตามวันที่กำหนด ในวันดังกล่าวให้ผู้รับเหมาเตรียม “ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน” ไปให้เพื่อรับเงิน

และสุดท้าย ขั้นตอนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ…

การรับชำระเงินของผู้รับเหมา

ใครบ้างล่ะที่จะไม่อยากได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานหนัก ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้รับเหมาได้จับเงินของตัวเองจริง ๆ เสียที ซึ่งขั้นตอนการเริ่มต้นรับงาน-รับเงิน สรรพากรจะให้ทางผู้รับเหมาออกเอกสารที่เขียนหัวบิลว่า “ใบวางบิล/ใบกำกับภาษี” แม้จะยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้างก็ตาม และเมื่อได้รับเงินแล้วผู้รับเหมาจึงจะออก “ใบเสร็จรับเงิน” ให้กับผู้ว่าจ้าง

นอกจากบิลค่าใช้จ่ายที่ผู้รับเหมาได้มาจากการซื้อของซึ่งเป็นบิลที่มีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรแล้ว ในอีกกรณีอาจจะได้บิลที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือบิลค่าใช้จ่ายบางส่วนที่หายไปก็ได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับการเก็บเอกสารเหล่านั้นเป้นอย่างดีก็คือการมีสมุดคุมค่าใช้จ่าย และในช่องสุดท้ายให้มีลายมือชื่อผู้รับเงินด้วย และหากโอนเงินจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายแทนการไปซื้อของด้วยเงินสดที่ร้านขายวัสดุ แม้จะยังไม่ได้รับใบเสร็จก็ยังสามารถพิมพ์เอกสารการโอนเงินมาเป็นหลักฐานการจ่ายเงินได้เช่นกัน

คลังความรู้อสังหาฯ

Scroll to Top