ธนาคารลดหนี้ได้แต่ไม่เคยบอกลูกหนี้

ว่าด้วยเรื่องของการชำระหนี้ก็มักจะมีสิทธิพิเศษสำหรับลูกหนี้ที่มีเครดิตการชำระหนี้ดี ๆ อย่างการส่งหนี้ตรงตามที่กำหนดในทุก ๆ งวดหรือการจ่ายหนี้แบบปิดบัญชีก็มักจะได้ส่วนลดดอกเบี้ยอีกหลายเปอร์เซ็นต์ และที่มากไปกว่านั้นอาจรวมไปถึงการลดเงินต้นให้อีกด้วย และนี่ก็คงจะเป็นภาพที่หลายคนพอจะนึกออกว่าถ้าชำระหนี้ดี ๆ สักหน่อยก็คงได้รับสิทธิพิเศษที่ว่านี้ด้วยเช่นกัน แต่ทว่านอกเหนือไปกว่านั้นธนาคารก็ยังสามารถลดหนี้ให้กับลูกหนี้เครดิตแย่ได้เหมือนกัน

เพียงแต่ธนาคารไม่ได้บอก

ในความเป็นจริงแล้วสถาบันการเงินหลายส่วนใหญ่สามารถลดหนี้ให้กับคนที่มีหนี้เสียได้พอ ๆ กับคนที่ชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนด เพียงแค่อาศัยการเจรจาต่อรองเท่านั้น

real estate

เคยเห็นไหมว่ามีบางคนที่มีหนี้เสียหลายล้าน แต่พอเข้าไปคุยกับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้แล้วได้ลดทั้งเงินต้นทั้งดอกเบี้ย บางคนได้จ่ายน้อยกว่าหนี้เดิมที่ต้องจ่ายหลายต่อหลายบาท หรือดีไม่ดีก็สามารถปิดหนี้ได้เร็วเกินคาดเสียอีก พอเป็นแบบนี้แล้วใครบ้างล่ะที่จะไม่สนใจที่มาที่ไปว่าต้องหาวิธีการแบบไหนเพื่อที่จะได้สิทธิพิเศษดังกล่าวนี้ แน่นอนว่าเทคนิคก็คือการเข้าไปเจรจา แต่ทว่าปัญหาเริ่มต้นก็ตรงที่ว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่กล้าเจรจานี่แหละ

real astate

โดยทั่วไปแล้วธนาคารจะลดหนี้ให้กับลูกหนี้หลายประเภท ได้แก่…

  • ลูกหนี้ที่ชำระหนี้แบบปิดบัญชี
  • ลูกหนี้ที่กำลังจะหมดอายุความ
  • ลูกหนี้ที่เป็น NPL และได้มีการต่อรองกับสถาบันการเงิน
  • ลูกหนี้ที่ขึ้นศาลและพิพากษาที่สามารถต่อรองได้
  • ลูกหนี้ที่มียอดหนี้น้อยเกินไป สถาบันการเงินเจ้าหนี้อาจจะขายทิ้งและไม่ทำการฟ้องร้องเพราะไม่เห็นถึงความคุ้มค่า

ในส่วนของหนี้บ้านส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกลุ่มของลูกหนี้ NPL หรือกลุ่มที่มีการขาดช่วงในการชำระหนี้ตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป ซึ่งจะได้รับการติดตามจากฝ่ายที่ดูแลหนี้เสียเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นการชำระหนี้ ปัญหาที่ทำให้เกิดการค้างชำระหนี้ รวมไปถึงปัญหาต่างท ๆ ของตัวลูกหนี้เอง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลในส่วนนี้ก็ต้องรายงานปัญหาต่าง ๆ ของลูกหนี้ให้ธนาคารทราบเช่นเดียวกัน

แน่นอนว่าสิ่งที่ธนาคารต้องการไม่ใช่บ้านหรือหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน แต่เป็นการชำระหนี้คืนจากลูกหนี้ต่างหาก เพราะหากได้ทรัพย์มาแล้วธนาคารก็ต้องนำไปฝากขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้สินที่คงค้างอยู่ดี ซึ่งวิธีนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีขั้นตอนซับซ้อนอีกหลายอย่างที่คุ้มบ้างไม่คุ้มบ้าง ดีไม่ดีทรัพย์ที่นำไปขายทอดตลาดนั้นก็ไม่เพียงพอสำหรับหนี้สินที่มีเลยด้วยซ้ำไป

ฉะนั้นแล้วในช่วงที่ขาดส่งแรก ๆ ธนาคารจะมีการติดตามทวงหนี้อยู่ในระยะหนึ่ง ในช่วงนี้ลูกหนี้สามารถเจรจาเพื่อขอประนีประนอม รวมทั้งการขอปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินได้ แต่ถ้าหากว่าลูกหนี้ยังคงหนีหายหรือขาดการติดต่อ หนี้ดังกล่าวจะถูกส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเร่งรัดหนี้สิน ในตอนนี้แหละที่ชีวิตประจำวันของลูกหนี้จะถูกรบกวนแบบไม่เว้นวัน ไม่ว่าจะเป็นการโทรตามหรือการก่อกวนก็ด้วย

ถ้าถึงตอนนี้ยังไม่จ่ายอีกล่ะก็ ธนาคารอาจจะขายหนี้ให้กับบริษัทจัดการหนี้สิน ซึ่งจะเป็นการขายหนี้ในราคาถูกมาก ๆ ซึ่งตัวของลูกหนี้เองก็สามารถต่อรองได้เกือบครึ่งเลยด้วยซ้ำ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหากไม่ถึงที่สุดจริง ๆ ธนาคารก็มักจะเป็นฝ่ายเจรจากับลูกหนี้ตั้งแต่แรกด้วยตัวเองมากกว่าเพื่อหาทางออกให้กับทั้งสองฝ่าย โดยจะมีการยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ให้ด้วย ไม่เว้นแม้แต่การตัดหนี้ที่มีอัตราต่ำลงเพราะแม้ว่าจะได้เงินคืนน้อยลงแต่ก็ดีกว่าการที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย เพราะหากจะต้องฟ้องร้องกัน สุดท้ายก็อยู่ในจุดที่ไม่คุ้มค่าอยู่ดีเมื่อเทียบกับการเจรจาเพื่อหาทางชำระหนี้คืนอย่างเหมาะสมที่สุด

ฉะนั้นแล้วเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แม้จะถูกมองว่าเป็นเรื่องใหญ่แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การต่อรองที่สามารถตกลงกันได้อยู่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อเริ่มมีปัญหาติดขัดทางด้านการเงินลูกหนี้จะกล้าหันหน้าเผชิญกับเจ้าหนี้แบบตรง ๆ หรือเปล่า

ถ้าไม่ อาจจะกลายเป็นว่าบ้านที่มีอยู่อาจจะถูกยึดและนำไปขายเพื่อเอาเงินมาใช้หนี้สักวัน

แต่ถ้ากล้าที่จะลองเจรจาต่อรองดูสักครั้งอาจจะเป็นจุดที่ทำให้ลูกหนี้ได้ลดจำนวนหนี้ของตัวเองได้มากกว่าที่คิดก็ได้

คลังความรู้อสังหาฯ

Scroll to Top