เมื่อพูดถึงมนุษย์เงินเดือนหลายคนก็มักจะติดภาพจำของพวกเขาอย่างเช่นว่า “มนุษย์เงินเดือน(ชนเดือน)” หรือไม่ก็เป็นกลุ่มคนที่ต้องทำงานหัวหมุนอยู่ตลอดเวลา มันอาจจะกลายเป็นภาพจำที่ค่อนข้างจำเจอยู่ในวังวนเดิม ๆ อยู่เสมอเพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นแต่สภาพแวดล้อมเดิม ๆ แต่แล้วอะไรล่ะที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะอยู่กับสิ่งเดิม ๆ เหล่านั้น
ท่ามกลางความไม่เปลี่ยนแปลงคนกลุ่มนี้ก็มักจะมีแต้มต่อมากกว่าอาชีพอื่น ๆ อยู่เสมอ ซึ่งความได้เปรียบที่ว่าก็คือการมีรายได้ที่มั่นคงนั่นเอง และด้วยเหตุนี้ไม่ว่าจะทำอะไร ๆ หรือก้าวไปทางไหนอาชีพนี้ก็มักจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของภาคธุรกิจเสมอ ไม่เว้นแม้แต่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินก็ตาม
อาชีพไหนที่มีรายได้มั่นคง ก็คงเป็นมนุษย์เงินเดือน
ซึ่งพอมีรายได้มั่นคงก็บ่งบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้คืนได้เช่นกัน ฉะนั้นแล้วจะมีอาชีพไหนที่ได้เปรียบมากไปกว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือนอีก ซึ่งนี่ก็ได้กลายมาเป็นเหตุผลหลักของการเลือกลุ่มเป้าหมายของหลาย ๆ ภาคธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่อสังหาริมทรัพย์หรือการซื้อขายที่ดินเองก็ตาม
บ่อยครั้งก็คงจะเห็นว่ามีนักลงทุนหลายคนที่อยากจะเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ แต่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็ไม่คุ้นหูคุ้นตาจนต้องกลับมาอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม ๆ อย่างอสังหาริมทรัพย์ เช่นว่า ทำบ้านมือสองก็เริ่มหันมาทำบ้านโครงการขาย ทำบ้านโครงการขายก็อยากหันมาขายที่ดินเปล่า ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในทางกลับกันก็ยังมีนักลงทุนที่ดินเปล่าอีกหลาย ๆ คนที่อยากหันมาสร้างบ้านขายด้วยเหมือนกัน
แต่การสร้างบ้านขายก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายไปเสียทั้งหมด บางคนอาจจะมีที่ดินอยู่ไม่รู้กี่แปลงต่อกี่แปลงแต่กลับหาลูกค้าได้ยากกว่าที่คาดไว้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อยากหันมาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ทว่าการสร้างบ้านดี ๆ สักหลังก็ต้องแลกกับต้นทุนที่ค่อนข้างสูง แถมนักลงทุนบางคนเครดิตทางด้านการเงินอาจจะยังไม่พร้อมสำหรับการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอีก แล้วแบบนี้จะไปหาทุนมาจากที่ไหน
ย้อนกลับไปที่ตอนต้นจะก็คงจะเห็นแล้วว่าอาชีพไหนที่มีแต้มต่อด้านเครดิตดีที่สุด นั่นก็คือ “มนุษย์เงินเดือน” มันอาจจะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญหรือมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเดินเข้าไปถามว่ามีเงินอยู่ในบัญชีตอนนี้ทั้งหมดเท่าไหร่ แต่อาจจะเป็นการตั้งคำถามว่ามีมนุษย์เงินเดือนคนไหนที่อยากมีบ้านสักหลังโดยใช้เครดิตของตัวเองมาใช้ในการกู้สร้างบ้าง
แล้วต้องทำอย่างไรเมื่อลูกค้าอยากมีบ้าน…
เมื่อคิดที่จะสร้างบ้านขายสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกก็คือการแบ่งแยกในนามเดิมเสียก่อนในกรณีที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่ จากนั้นค่อยพาลูกค้าไปดูที่ดินและแบบบ้านที่เตรียมไว้ เมื่อลูกค้าตัดสินใจที่จะซื้อขายที่ดินพร้อมกับการกู้สร้างจึงจะนำไปสู่ขั้นตอนของการตรวจสอบความพร้อมของลูกค้าและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
การตรวจสอบเครดิตบูโรของลูกค้า รวมถึงอายุของลูกค้า และอายุงาน เพื่อที่จะได้ทราบว่าความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้านั้นจะทำให้สามารถกู้ได้ตามราคาซื้อขายที่ตกลงกันไว้ได้หรือไม่นั่นเอง
ต่อมาคือการตรวจสอบเอกสารรับรองรายได้ ได้แก่ สลิปเงินเดือน เพราะทางธนาคารเองก็มักจะพิจารณาการกู้สินเชื่อจากสลิปเดือนเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร ธอส. จะพิจารณาจากสลิปเงินเดือน 3 เดือน ส่วนธนาคารอื่น ๆ จะใช้สลิปเงินเดือนประมาณ 6 เดือน เป็นต้น
โดยการยื่นกู้สินเชื่อกับธนาคาร ผู้กู้จะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
เอกสารทั่วไป
เอกสารแสดงรายได้
– หนังสือรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือนแบบใช้สวัสดิการของหน่วยงาน
– สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน
– สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน
จากนั้นนำส่งให้กับธนาคารที่ขอสินเชื่อ และเมื่อทราบยอดกู้คร่าว ๆ ของลูกค้าแล้วจึงจะเป็นขั้นตอนของการสรุปแบบบ้าน ราคาขาย รวมถึงการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และการรับเหมาก่อสร้าง โดยการจ่ายงวดเงินของธนาคารจะแบ่งเป็นทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่…
ส่วนที่หนึ่ง
ธนาคารจะจ่ายค่าที่ดิน 100% โดยแบ่งจ่ายค่าที่ดินออกเป็นทั้งหมด 2 งวด ในอัตรา 70% ของราคาประเมินที่ดินจากธนาคารที่ประเมินได้ และงวดที่สองจะจ่ายในอัตรา 30% จะจ่ายให้พร้อมกับงวดงานก่อสร้าง
ส่วนที่สอง
ธนาคารจะจ่ายค่าก่อสร้างให้กับผู้กู้ตามราคาประเมินส่วนพื้นที่อาคารตัวบ้านที่ธนาคารประเมินได้ตามงวดงานที่ธนาคารเป็นคนกำหนดให้ ทั้งนี้สามารเตรียมวางแผนงานให้ผู้รับเหมาเข้าทำฐานราก (10%) คานคอดนิ (5%) โครงสร้าง (10%) ถ้าวางแผ่นพื้น ใส่รัดคอ (10%) จะรวมทั้งหมดเป็น 35% ซึ่งถ้าทำส่วนนี้แล้วสามารถเบิกงวดงานค่าก่อสร้างพร้อมค่าที่ดินในวันทำนิติกรรมสัญญาจำนองกับธนาคารออกมาได้เลย