ทำไม เราถึงต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับผู้รับเหมา

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตามควรมีการดำเนินการที่เป็นขั้นเป็นตอนและเป็นไปตามข้อกำหนด อย่างไรก็ตามนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบแล้วจะไม่มีโอกาสเกิดปัญหาหรือเรื่องกวนใจอื่น ๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงหรือการเจราตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้สัญญาหรือหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาเป็นหลักประกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจผิดเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น แน่นอนว่าปัญหาต่าง ๆ หากไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือส่งผลกระทบร้ายแรงสามารถแก้ได้ผ่านการเจรจาหรือข้อตกลงบางอย่าง อย่างไรก็ตาม หากปัญหานั้น ๆ เกิดจากการผิดข้อสัญญาหรือไม่ตรงตามเงื่อนไขใด ๆ ที่ระบุไว้ในข้อตกลงและไม่สามารถจบลงด้วยการเจรจาได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปอาจเกี่ยวข้องกับระเบียบข้อกฎหมายและอาจถึงขั้นขึ้นศาลเลยก็เป็นได้เช่นกัน

แล้วทำไม เราถึงต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับผู้รับเหมา? การรู้ข้อกฎหมายถือเป็นสิทธิ์ของเราที่จะยกขึ้นมาใช้เพื่อปกป้องเมื่อเกิดปัญหาหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ ในวงการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ที่ทำอาชีพ รับเหมา ที่ต้องยึดการทำงานตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในสัญญากับผู้ว่าจ้างแล้ว ยิ่งต้องใส่ใจรายละเอียดในส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง

กฎหมายเกี่ยวกับผู้รับเหมา
สนใจหนังสือ คลิก

กฎหมายที่ผู้รับเหมาต้องรู้

ก่อนที่จะมารู้จักกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้รับเหมาจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าในการสร้างบ้านแต่ละหลังจำเป็นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นระยะย่น ความกว้างของผนัง ระยะห่างจากถนน ปริมาณพื้นที่ที่ใช้ในการสร้างบ้าน รวมถึงการขออนุญาตแบบแปลน หากไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรหรือติดต่อกับใคร ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการทำผิดพลาดและไม่ตระหนักถึงข้อกฎหมายที่สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือในส่วนนี้ได้เลย

ประเภทกฎหมายสำหรับผู้รับเหมา

  • กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน จะต้องรู้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีกหลาย ๆ เรื่อง เช่น พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 (ฉบับบแก้ไขใหม่) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พระราชบัญญัติส่งเสริมการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น PRA เป็นพวกโครงการจัดสรรขนาดใหญ่หรือว่า คอนโดมิเนียมที่ต้องมีพื้นที่สีเขียวหรือเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง อันนี้คือข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการจัดสรรที่ดินไม่ว่าแนวราบหรือแนวสูงต้องรู้
 
  • กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับอาคารชุดเช่นคอนโด ตัวหลัก ๆ ที่ใช้แน่นอนก็คือพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก อย่างเช่น ประมวลรัษฎากรภาษีนิติบุคคล บุคคลธรรมดา ภาษีสิ่งปลูกสร้าง ภาษีท้องถิ่นก็เป็นพระราชบัญญัติที่พ่วงเข้ามา แต่โดยทั่วไปแล้ว ภาพกว้างที่สุด ถ้าไม่เข้ากฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง กฎหมายที่เป็นตัวพื้นหลักเลยคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจุบัน ซึ่งจะเป็นตัวที่ใช้ได้กับทุกประเภท (หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายครอบจักรวาล) หากไม่ตรงกับพระราชบัญญัติเฉพาะใด ๆ ก็ให้ไปดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แทนได้เลย

 

สำหรับผู้รับเหมามือใหม่ ก่อนจะรู้ข้อกฎหมายควรกำหนดให้ได้ก่อนว่าจะเข้าจัดสรรหรือไม่เข้าจัดสรร หากตกลงว่าจะเข้าจัดสรร หมายถึงว่ามีเกิน 10 แปลงขึ้นไปจะเข้าข่ายธุรกิจและต้องใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แต่ในกรณีที่สร้างแล้วต่ำกว่า 9 แปลง (สร้างบ้านประมาณ 8-9 หลัง) และไม่เข้าจัดสรร สามารถอ้างอิงพระราชบัญญัติควบคุม พ.ศ. 2522 ได้เลย

อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้รับเหมาต้องให้ความสำคัญคือลักษณะของบ้าน ว่าเป็นบ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น หรือคอนโดมิเนียม ว่าจะสร้างเป็นบ้านเดี่ยว สองชั้น ทาวน์โฮม ตึกแถว หรือบ้านแฝด เป็นต้น

ตัวอย่างที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปคือรูปแบบของการสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ หรือ ทาวน์โฮม หากต้องการสร้างบ้านแฝดผนังต้องไม่เกิน 35 ตารางเมตร ถ้าบ้านเดี่ยวทางที่ดีควรมีพื้นที่ 35 ตารางวาขึ้นไป (ส่วนใหญ่นิยมสร้าง 50-60 ตารางวา) โดยส่วนใหญ่แล้วบ้านต่างจังหวัดมักมีพื้นที่ถึงหนึ่งงานหรือหนึ่งร้อยตารางวาถึงหนึ่งไร่เลยทีเดียว ดังนั้นจะสร้างบ้านหลังหนึ่งจำเป็นต้องรู้ว่าควรมีระยะย่นผนัง ระยะย่นติดผนัง และระยะย่นจากสาธารณะเท่าไหร่ ซึ่งองค์กอบเหล่านี้จะไปปรากฏอยู่ในการเขียนแบบเพื่อไปพล็อตกับพื้นที่ที่ดินและนำไปฝช้ในการขออนุญาตก่อสร้าง พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างจึงมีความสำคัญในจุดนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือความเสี่ยงในการก่อสร้างผิดพลาด

  สำหรับระยะย่นถนน หากถนนกว้าง 6, 10, 12 เมตร และระยะย่นแคบเกินไป เวลามีรถมาจอดชิดข้างทางอาจมีผลต่อการสัญจรได้ ส่วนเรื่องแบบต่าง ๆ เช่น แสงต้อมี 10% พื้นที่บ้านต้องไม่เกิน 70% ของเนื้อที่ดิน ซึ่งเป็นการออกแบบไว้เผื่อความเป็นส่วนตัวและป้องกันความขัดแย้งกับบ้านใกล้เคียงและผู้ที่สัญจรไปมา กฎหมายควบคุมอาคารจะทำให้คนในโครงการ หมู่บ้าน และชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และเป็นไปตามบรรทัดฐานเดียวกันทั้งเมือง ซึ่งอาจมีพระราชบัญญัติผังเมืองมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

ปัญหาที่พบบ่อย

สิ่งที่กลายมาเป็นปัญหาและพบเจอได้ค่อนข้างบ่อยก็คือการไม่ทำตามแบบก่อสร้างซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความห่างของระยะย่นไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ในแบบส่วนที่ระบุถึงระยะย่นจะกลายเป็นแบบทึบหรือแบบสอด ยิ่งหากไม่ได้ขออนุญาตก่องสร้าง หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นจะไม่สามารถหสตัวผู้รับผิดชอบได้ อีกทั้งหน่วยงานรัฐยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการตรวจสอบได้อีกด้วยเนื่องจากไม่มีการยื่นแบบก่อสร้างไว้ก่อนหน้า ซึ่งถึงแม้จะจับมือใครดมไม่ได้ แต่สุดท้ายผู้ที่ต้องรับผิดชอบก็คือผู้รับเหมาและผู้ทำสัญญาก่อสร้าง

ปัญหาอื่น ๆ ที่พบเจอก็คือปัญหาการทิ้งงาน ระยะย่นไม่ตรงตามแบบส่งผลให้แบบที่สร้างจริงและแบบที่เขียนไว้ไม่ตรงกัน เป็นเหตุให้เจ้าของบ้านและผู้รับเหมาต้องขัดแย้งกันบ่อยครั้ง

ยิ่งไปกว่านั้นหากมีการรื้อถอนเกิดขึ้นอาจมีโทษปรับตามความผิดนั้น ๆ โดยหากระหว่างงานก่อสร้างมีผู้ได้รับอุบัติเหตุเสียชีวิต กลุ่มวิศวกรรมควบคุมงานหรือแบบแปลนก็ต้องรื้อแบบออกมาเพื่อหาว่ามีจุดบกพร่องตรงส่วนไหน ไม่ว่าจะเป็นฐานราก โครงสร้าง หรือประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักปูนหรือเหล็กเป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างแบบขออนุญาตและแบบก่อสร้าง

ตามหลักทั่วไปแล้ว แบบขออนุญาตและแบบก่อสร้างต้องเป็นแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับพื้นที่มนการก่อสร้างที่ไม่เกิน 150 ตารางเมตร นั่นคือแบบลักษณะนี้จำเป็นต้องมีวิศวกรเซ็นต์กำกับรับรองความถูกต้องของแบบและอาจต้องแนบ BOQ เพื่อนำเสนอราคาค่าก่อสร้างต่าง ๆ ลงไปด้วย ซึ่ง BOQ จะแยกออกไปตามหมวดหมู่ของงานต่าง ๆ เช่นหมวดวิศวกรรม หมวดสถาปัตย์ หมวดงานระบบสุขาภิบาล หมวดงานระบบไฟฟ้า และหมวดงานอื่น ๆ ถ้าแบบบ้าน ก็ต้องมีใบขออนุญาตก่อสร้างซึ่งหากมีพื้นที่ก่อสร้างเกิน 150 ตารางเมตร ในการก่อสร้างต้องมีลายเซ็นต์ของวิศวกรด้วย แต่ส่วนใหญ่จะมี ผอ. กองช่าง สภาปนิก และหัวหน้างานผังเมืองเซ็นต์แบบขออนุญาตอยู่แล้ว ซึ่งหากสร้างบ้านไม่เกิน 150 ตรม. ถึงแม้ว่าจะต้องขออนุญาตเหมือนกัน แต่ไม่จำเป็นต้องให้วิศวกรเซ็นต์รับรอง

หากไม่เป็นไปตามใบขออนุญาต เช่นตามระยะย่นระบุว่าต้องให้ผนัง 2 เมตร แต่เราย่นไว้แค่ 1 เมตร แบบบริเวณนั้นก็จะไม่ปรากฎด้านผนังว่ามีประตูหน้าต่างแต่จะลงสีทึบไปแทนที่ แต่หน้างานจริงสามารถใส่ประตูหน้าต่างได้ แต่ระยะย่นก็จะไม่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งโดยหลักก็ควรจะสร้างตามแบบก่อสร้าง แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่ไปสร้างบ้านบนที่ดินจำกัดหรือราคาแพง ผู้รับเหมาจะเลี่ยงบาลีโดยในแบบจริงจะเขียนไว้เป็นผนังทึบ แต่แบบสร้างจะใส่ประตู หน้าต่างลงไป ต้องเข้าใจงานสถาปัตย์ก่อนว่าเมื่อก่อนประตูหน้าต่างจะไม่มีแบบเป็นบานเลื่อน จะมีแต่แบบกระทุ้งเปิดออกจึงเป็นที่มาของการต้องมีระยะย่น 2 เมตร แต่ยุคใหม่เริ่มมีกระจกเลื่อนขึ้นมา ก็เลยมีการเลี่ยงบาลีโดยการทำผนังทึบแล้วใส่หน้าต่างบานเลื่อนแทน แบบลักษณะนี้เรียกว่าแบบสอด หรือแบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามหน้างาน นอกจากนี้อีกส่วนหนึ่งก็คือบ้านที่สร้างไปแล้วและเจ้าของมาต่อเติมทีหลัง ตรงนี้ก็มักจะเจอปัญหาบ่อย ๆ ตรงการต่อเติมห้องครัวแล้วไปชิดกับแนวรั้ว เพราะโดยกฎหมายแล้ว จะไม่อนุญาตให้ทำชิดเกิน 50 เซนติเมตร และต้องมีระยะห่างในแนวรั้ว 50 เซนติเมตร ในการต่อเติมหรือขออนุญาตต่อเติม ยกตัวอย่างเช่น เคยขออนุญาตต่อเติมห้องครัวไป โดยแบบแปลนตอนแรกขออนุญาตไปไม่มีห้องครัว แต่เจ้าของบ้านอยากต่อเติมห้องครัว ผู้รับเหมาก็ต้องไปขออนุญาตให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ระยะย่น 2 เมตรนี้ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร แบบที่ยื่นเพิ่มเติมก็ต้องเขียนให้ชัด ว่าขอต่อเติม ระยะต่อเติมกี่เมตร กว้างยาวกี่เมตร ห่างจากขอบผนัง ขอบแนวรั้วอย่างต่ำ 50 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย เป็นต้น ไม่ว่าจะสร้าง ต่อเติม หรือรื้อถอนต้องมีการขออนุญาตทุกครั้ง เพื่อที่ว่าหากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น เทศบาล อบต. สำนักเขตจะเข้ามาตรวจสอบโดยอาศัยแบบตัวนี้เป็นตัวหลัก หรือหากเพื่อนบ้านมาบอกว่าเราต่อเติมชิดแนวรั้วเกินไปเราก็เอาแบบขออนุญาตยื่นให้ดูและตรวจสอบได้ เพราะอย่าลืมว่าบ้านที่เราอยู่ไม่ได้อยู่แค่เดือนสองเดือน แต่เป็นสิบ ๆ ปีหรือบางคนคือชั่วชีวิต

กฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้ในการก่อสร้างตึกแถว

จะใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารเหมือนกับการสร้างบ้าน แต่ในการสร้างตึกแถว ในช่วงระยะมีการกำหนดชัดเจนว่าไม่ให้สร้างเกิน 40 เมตร ถ้าเกิน 40 เมตรต้องมีระยะพักคอย 4 เมตรเป็นอย่างน้อย การจะสร้างตึกแถวทีเดียวสิบห้องไม่สามารถทำได้เพราะเกิน 40 เมตร จำเป็นต้องเว้นให้เห็นทาวน์เฮาส์ลักษณะหน้ากว้าง 4 เมตรบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิน 40 เมตร ไม่เช่นนั้นจะเป็นการผิดกฎหมาย แต่ในปัจุบันมีการปรับปรุงแปลนใหม่ เปลี่ยนเป็นส่วนหน้ามีความกว้าง 5.7 เมตรแทน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิน 40 และจะได้ประมาณ 6 หลัง เพื่อเพิ่มพื้นที่จอดรถด้านหน้า ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารและกฎหมายกระทรวง โดยในข้อ 46 หมวด 4 ของพรบ. ควบคุมอาคารระบุว่า ที่ดินชิดถนนหักมุมจะต้องปาดหน้ารั้วเป็นระยะสี่เมตร หรือระยะก่อสร้างไม่เกินสี่สิบเมตร

สัญญา: สิ่งที่ต้องเน้นและให้ความสำคัญในมุมของผู้รับเหมา

กฎหมายคุ้มครองผู้รับเหมาที่ใช้หลัก ๆ คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องนิติกรรมสัญญา สำหรับสัญญาของผู้รับเหมา คือสัญญารับจ้างก่อสร้าง จะเป็นสัญญาว่าจ้างทำของ หรือสัญญาว่าจ้างแรงงาน โดยรวมแล้วคือสัญญาก่อสร้างทั้งสิ้น ซึ่งในสัญญาแนะนำให้ระบุเงื่อนไขให้ละเอียดที่สุดเพื่อให้เกิดข้อตกลงตรงกันและความพึงพอใจทั้งฝั่งผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมา โดยในสัญญา สาระสำคัญลักษณะงานให้ยึดแบบแปลน แบบก่อสร้าง แบบยื่นขออนุญาตไว้เป็นหลักเพื่อให้ผู้รับเหมาตีราคาแบบได้  BOQ ได้ ให้จบทีเดียวในแบบ เพื่อดูว่าวัสดุก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานระดับไหน ระดับกลาง หรือระดับสูง วัสดุอื่น ๆ สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไปหรือไม่ ผู้รับเหมายังต้องรับรู้ว่าบ้านที่รับผิดชอบเป็นแบบหรือสไตล์ไหน โมเดิร์น นอดิก หรือยุโรปเป็นต้น เพื่อดูว่าเรามีความชำนาญในการทำตามแบบนั้น ๆ หรือเปล่า

ส่วนสำคัญที่สองคือเรื่องของค่าแรง การจ้างงานมี 2-3 แบบ หลัก ๆ คือการจ้างแบบเหมาทั้งหลัง (ค่าแรง+ค่าวัสดุ) จ้างเฉพาะค่าแรง (เจ้าของบ้านรับผิดชอบค่าวัสดุ) ซึ่งจะมีระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง (อ้างอิงจากแนวโน้มที่งานจะเสร็จ) เช่นว่าจ้างค่าแรง 6 เดือนหรือ 1 ปีเป็นต้น อีกแบบคือทั้งสองแบบแต่แยกประเภทงาน เช่นเหมางานโครงสร้าง หรือเหมางานสถาปัตย์ ผู้รับเหมาต้องดูว่าเราตกอยู่ภายใต้เงื่อนสัญญาแบบใดและระบุให้ชัดเจน

ส่วนที่สามคือ การจ่ายเงินตามงวดงาน (มีปัญหาและเกิดงานทิ้งงานบ่อย ๆ) มักมีการทะเลาะกับผู้ว่าจ้าง เช่นสร้างเสร็จตามแบบแต่ผู้ว่าจ้างไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้ว่าจ้างบางคนก็บอกจ่ายเงินไปแล้วแต่บ้านไม่ได้เป็นไปตามแบบและจำนวนเงินที่จ่ายไป ถ้าเป็ฯมาตรฐานทั่วไป ผู้รับเหมาจะขอให้ผู้ว่าจ้างจ่ายก่อน 10% เพื่อเป็นค่าวัสดุและค่าคนงานเบื้องต้น ที่เหลือจะเป็นการแบ่งชำระตามงวดงานที่ระบุตามสัญญา อย่างไรก็ตาม หากหน้างานเกิดไม่พอจริง ๆ อาจต้องมีการยื่นหยุ่นทางการเงิน เพื่อให้บ้านเสร็จทันตามเวลา ตามแบบ ตามมาตรฐานและไม่เกินงบประมาณ

ส่วนที่สี่คือ การประกันโครงสร้างและการประกันตัวบ้าน โดยโครงสร้างต้องประกันอย่างน้อยห้าปี และตัวบ้านอย่างน้อยหนึ่งปี ผู้รับเหมาต้องมีจุดนี้

ส่วนที่ห้าคือ การตรวจ QC หรือคุณภาพงานต่าง ๆ ว่าเข้าฉากได้มั้ย มุมได้มั้ย ฝ้าดีมั้ย มีน้ำรั่วน้ำซึมจากท่อหรือไม่

ส่วนที่หกคือ ระยะเวลาก่อสร้าง ตรงนี้ต้องชัดเจน เพราะเจ้าของบ้านก็ต้องอยากได้บ้านเร็วที่สุดอยู่แล้ว แต่ก็ต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานและคุณภาพของงานด้วยเช่นกัน ถ้าบ้านชั้นเดียว 3-4 เดือนควรต้องจบให้ได้ และ 6-8 เดือนสำหรับบ้านสองชั้น แต่หากบ้านขนาดใหญ่จริง ๆ ก็อาจต้องมีการยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับขนาดงาน

สุดท้ายคือการจัดทำสัญญาระหว่างผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้าง ว่าตกลงจะใช้สัญญาของผู้รับเหมาหรือผู้ว่าจ้าง หรือกติกาคนกลาง (ทนายความ) โดยก็ต้องดูว่าหากเป็นบ้านโครงการแนะนำให้ใช้สัญญาของทนายความเพื่อความปลอดภัยในการร่างสัญญาเพราะขนาดงานใหญ่ โดยการร่างสัญญาฉบับนี้มักมีตัวต้นแบบอยู่แล้ว หรืออาจให้ที่ปรึกษาร่างสัญญาตัวนี้ขึ้นมาให้ก็ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงมาแล้วยังสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นทั้งกับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมา เนื่องจากมีคนกลางหรือพยานรับรู้ด้วยนั่นเอง

เบี้ยปรับการส่งงานล่าช้า  เบี้ยปรับว่าผู้ว่าจ้างไม่จ่ายค่างวดงาน ค่ามัดจำ เพื่อป้องกันการผอดกฎหมายและคุ้มครองผู้รับเหมา

ในกรณีที่งานเดินไปจนกระทึ่งงวดสุดท้าย แต่ผู้ว่าจ้างกลับไม่ยอมจ่ายทั้ง ๆ ที่ระบุชัดในสัญญา แก้ปัญหาโดยวิธีใดได้บ้าง

สนใจหนังสือ คลิก

หากตามกฎหมายต้องยืดตามสัญญาซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเอาสัญญาดังกล่าวเป็นตัวตั้ง แล้วยื่น notice ให้กับผู้ว่าจ้างไว้ จากนั้น บอกว่าเราทำงานตามแบบ QC เรียบร้อย ตรวจรับงานครบถ้วนเรียบร้อย ค้างค่างวดเท่าไหร่ขอให้จ่ายภายในเจ็ด-สิบห้าวัน ถ้าไม่จ่ายจะต้องมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มเข้ามาตามระยะเวลางาน ซึ่งเงื่อนไขดอกเบี้ยเป็นไปตามกฎหมายกำหนด รวมถึงการเจรจาก็สามารถนำมาแก้ปัญหาได้ ซึ่งอาจมีการนำเอกสารมาแสดงและอาจถึงขั้นใช้กฎหมายมาดำเนินการได้เช่นกัน

สนใจหลักสูตรยื่นกู้ให้ลูกค้า คลิก

คลังความรู้อสังหาฯ

Scroll to Top