แน่นอนว่าสิ่งที่มาควบคู่กับงานออกแบบที่ผู้รับเหมาหรือคนที่ทำงานในด้านนี้ต้องเจออยู่บ่อย ๆ ก็คือการรื้อแบบหรือการต่อเติมจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมันอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หากว่าต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตัวอาคารจากรูปแบบเดิม ๆ มาเป็นแบบใหม่ ถ้านึกภาพไม่ออกให้ลองนึกถึงโมเดลที่ถูกตัดชิ้นส่วนต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยจนออกมาเป็นแบบบ้านหนึ่งหลัง แต่ภายหลังลูกค้า Say no ก็ต้องมารื้อส่วนที่ลูกค้าอยากเปลี่ยนออกทั้งหมด ตรงกันข้ามกับชิ้นงานประเภท 3 มิติที่แม้ว่าจะต้องแก้ไขก็ไม่ต้องใช้ต้นทุนอื่น ๆ เพิ่ม อย่างเช่น วัสดุอุปกรณ์ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดได้อีก ทั้งการนำไปเป็นส่วนประกอบในชิ้นงานอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า หรือใช้เป็นตัวช่วยในการดีไซน์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายกันได้
ถ้าต้องเสนองานออกแบบอาคารที่สามารถมองเห็นเหมือนเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สามารถจับต้องได้ก็คงต้องเลือกเอาสักทางว่าจะเสนองานไหนเป็นหลัก อย่างเช่น งานโครงสร้างของตัวอาคารก็ต้องสร้างโมเดลที่โชว์จุดเด่นของตัวบ้านที่จะสร้าง ถ้าจะขายงานระบบก็ต้องวาดผังที่ละเอียดยิบให้เห็นงานทุกส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งมันจะกลายมาเป็นงานหยาบและงานยากมากกว่านั้นมาก ๆ หากว่าลูกค้าอยากจะเห็นทุก ๆ อย่างพร้อมกันในคราวเดียว แต่ทว่า
การสร้างโมเดล 3 มิติ นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพรวมพร้อม ๆ กันแล้ว ยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง และการวางระบบ ทำให้ทุกฝ่ายรวมถึงลูกค้าและผู้รับเหมาสามารถเห็นข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ มองวิธีการก่อสร้างที่รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังใช้โมเดลนี้เป็นตัวกลางในการแชร์ การอัปเดตข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดภายในงานอีกด้วย