ทำไมการทิ้งเงินมัดจำหลังประมูลทรัพย์บังคับคดีถึงได้ถูกเรียกว่าเป็นสิ่งที่ “ไม่คุ้ม”

เชื่อว่าลึก ๆ แล้วก็คงไม่มีใครอยากจ่ายเงินเล่น ๆ ให้กับสิ่งที่จะทำให้ไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลยแม้แต่ทรัพย์ที่ทำการเสนอราคาไปแล้วก็ตาม ก่อนที่จะปักใจเข้าร่วมการประมูลทรัพย์กับกรมบังคับคดีคงผ่าน ขั้นตอน การวางแผนมากมายไม่ว่าจะเป็นการสำรวจทรัพย์ การเลือกทำเล หรือแม้แต่การประเมินราคา ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุน ในเบื้องต้น ฉะนั้นแล้วคงมีเหตุผลอีกนับไม่ถ้วนเช่นเดียวกันที่จะทำให้ใครสักคนตัดสินใจที่จะล้มแผนทั้งหมดแม้ว่าจะได้ทรัพย์ที่ตั้งใจไว้มาแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ภายหลังประมูลแล้วกลับพบว่าธนาคารไม่ปล่อยกู้ หรือมูลค่าราคาประมูลสูงกว่าราคาซื้อขายในตลาด ทุก ๆ อย่างล้วนมีต้นสายปลายเหตุด้วยกันทั้งนั้น และนั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมนักลงทุนถึงเลือกที่จะทิ้งเงินมัดจำ

แต่การทิ้งเงินมัดจำก็ไม่ได้ทำให้คนที่ประมูลเสียแค่เงิน

ประมูลทรัพย์บังคับคดี
สนใจหนังสือ คลิก

เมื่อผู้ชนะการประมูลตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่าจะไม่ทำการโอนทรัพย์ที่ประมูลได้ สุดท้ายในใจก็คงมองในแง่ดีว่าเสียเงินก้อนเดียวดีกว่าเสียเงินก้อนใหญ่แต่ไม่คุ้ม ไหนจะต้องบวกลบกับค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้องอีก แต่ทว่าในขณะเดียวกัน ความไม่คุ้มค่าที่น่าจะมาจากการลงทุนเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นเพราะการตัดสินใจเทเงินมัดจำไม่ได้ทำให้เสียแค่เงินแต่เป็นโอกาสในการซื้อทรัพย์แล้วยังจะถูกจำกัดโอกาสในการประมูลครั้งต่อ ๆ ไปด้วย

สำหรับผู้ซื้อเดิมที่ชำระราคาไม่ครบถ้วนหรือทิ้งเงินมัดจำหลังการประมูลทรัพย์บังคับคดี

อย่างที่บอกไปว่าคนเราคงมีเหตุผลอยู่นับไม่ถ้วนเพื่อที่จะปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือแม้แต่การมองเห็นความไม่คุ้มค่ากับการลงทุนก็เป็นหนึ่งในนั้น สำหรับกรณีของทรัพย์ที่ถูกประมูลได้แต่ไม่มีการโอนซื้อขายอาจเป็นเหตุให้ต้องนำทรัพย์ดังกล่าวมาขายทอดตลาดใหม่อีกครั้งโดยกรมบังคับคดีได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าผู้ซื้อที่ทิ้งเงินมัดจำจะต้องรับผิดชอบในส่วนต่างของราคาหากว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่ได้ราคาน้อยกว่าการขายทอดตลาดครั้งก่อน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนำทรัพย์ออกขายใหม่ภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด และหากผู้ที่เคยทิ้งเงินมัดจำ ถ้ามีการเข้าซื้อทรัพย์ในคราวต่อไปในคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดหลักประกันพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น การวางเงินมัดจำก่อนเข้าสู้ราคาเป็นจำนวน 2 เท่าของหลักประกันที่กำหนดไว้ในประกาศขายทอดตลาด เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเมื่อตัดสินใจที่จะลงทุนกับทรัพย์มือสองขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีแล้วการซื้อขายคงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวโดยเฉพาะกับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีที่ทางว่าจะหาทรัพย์ราคาต่ำกว่าตลาดจากแหล่งไหนได้บ้าง ฉะนั้นแล้วเพื่อไม่ให้เป็นการตัดโอกาสและช่องทางการลงทุนของตัวเองจึงควรกลับมาแก้ไขที่ปัญหาก่อนว่าแท้จริงแล้วยังมีทางออกไหนอีกบ้าง 

สนใจหนังสือ คลิก

บางคนก็ต้องเจอกับคราวซวยเพราะธนาคารไม่อนุมัติปล่อยกู้

นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้หลายต่อหลายคนเลือกที่จะ พรีแอพพรูฟ เพื่อประเมินความสามารถในการกู้ของตัวเองก่อน แต่เมื่อมาเกินครึ่งทางแล้วก็คงไม่มีใครอยากเดินถอยหลังกลับ ในกรณีที่ยื่นสถาบันการเงินแรกแล้วไม่ผ่านแต่ยังอยากได้ทรัพย์ที่ว่าอาจจะลองยื่นสถาบันการเงินอื่นเพื่อขอกู้อีกครั้ง โดยการใช้เอกสารประกอบการกู้สินเชื่อใหม่มาแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าสามารถผลัดเวลาได้นานแค่ไหน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นผลดีมากกว่าการปล่อยเงินมัดจำทิ้งอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ในบางกรณีอาจไม่จำเป็นที่จะต้องผู้ซื้อที่ทิ้งเงินมัดจำไม่จำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบค่าส่วนต่างของราคาประมูลในครั้งใหม่ก็ได้หากว่าการประมูลมีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้ของทรัพย์นั้น ๆ และสามารถชำระหนี้ทั้งหมดให้กับสถาบันการเงินที่มีสถานะเป็นเจ้าหนี้จำนองได้ แต่อย่างไรก็ยังมีราคาที่ต้องจ่ายนั่นก็คือการถูกกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดหลักประกันพิเศษในการประมูลครั้งต่อ ๆ ไปนั่นเอง

สนใจหลักสูตรประมูลทรัพย์บังคับคดี คลิก

คลังความรู้อสังหาฯ

Scroll to Top